การศึกษาความจุที่เป็นไปได้ของจุดกลับรถเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัย : กรณีศึกษาจุดกลับรถหน้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตศาลายา
คำสำคัญ:
คำสำคัญ: ความจุที่เป็นไปได้,ช่องว่างวิกฤติ,กระแสจราจรที่ขัดแย้งกันบทคัดย่อ
การปรับปรุงขยายถนนมีผลกระทบต่อความต้องการเปลี่ยนทิศทางการจราจรไปยังทิศทางที่ต้องการ ทำให้เกิดปริมาณความต้องการในการกลับรถมาก ซึ่งการกลับรถนั้นจะส่งผลกระทบต่อสภาพการจราจรทั้งในทิศทางเดียวกันและในฝั่งตรงข้าม งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาความจุที่เป็นไปได้ (Potential Capacity) ของจุดกลับรถบนถนนพุทธมณฑล สาย 5 หรือ ทางหลวงหมายเลข 3414 กิโลเมตรที่ 9+500 บริเวณมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตศาลายา เพื่อเป็นเกณฑ์บ่งชี้ให้ดำเนินการปรับปรุงให้เป็นจุดกลับในลำดับต่อไป โดยใช้หลักในการพิจารณา ความจุที่เป็นไปได้ จากการวิเคราะห์ถึง ช่องว่างวิกฤติ (Critical Gap) กระแสจราจรที่ขัดแย้งกัน (Conflicting Flow) อัตราการไหลของกระแสจราจรสายหลัก (Main flow) และเวลาของการเคลื่อนที่ตามกัน (Follow-up time) จากผลแสดงให้เห็นว่าในช่วงเวลาเร่งด่วนมีปริมาณรถที่ต้องการกลับรถเกินความจุที่เป็นไปได้และยังเป็นจุดกลับรถที่อันตรายเนื่องจากมีการตัดกระแสของรถทางตรงเป็นจำนวนมาก ผู้วิจัยได้มีข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไป เห็นควรจะทำการศึกษาผลกระทบด้านจราจรในกรณีเพิ่มความจุในจุดกลับรถ เช่น การเพิ่มจำนวนช่องกลับรถ ในทิศทางขาเข้ากรุงเทพฯ
##plugins.generic.usageStats.downloads##
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์