ศึกษาค่าตัวประกอบปรับผลการตอบสนองที่เหมาะสมสำหรับหอถังสูง ที่รองรับด้วยผนังคอนกรีตเสริมเหล็กแบบทรงกระบอกกลวงในประเทศไทย
คำสำคัญ:
หอถังสูงคอนกรีตเสริมเหล็ก, ตัวประกอบปรับผลตอบสนอง, วิธีการวิเคราะห์แบบสถิตไม่เชิงเส้นบทคัดย่อ
ปัจจุบันการออกแบบโครงสร้างอาคารเพื่อต้านทานแรงแผ่นดินไหวในประเทศไทยอ้างอิงตามมาตรฐานการออกแบบอาคารต้านทานการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว (มยผ.1301/1302-61) ซึ่งได้กำหนดค่าตัวประกอบปรับผลตอบสนอง (R) ที่เป็นตัวแปรสำคัญในการออกแบบระบบโครงสร้างต่าง ๆ ไว้ แต่ยังไม่ครอบคลุมถึงระบบโครงสร้างหอถังสูงรูปแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะหอถังสูงที่รองรับด้วยผนังคอนกรีตเสริมเหล็กแบบทรงกระบอกกลวง มีเพียงค่า R ที่ใช้เป็นแนวทางในการวิเคราะห์โครงสร้างอาคาร เช่น ค่า R สำหรับระบบโครงสร้างกำแพงรับแรงเฉือนธรรมดาซึ่งมีค่าเท่ากับ 4 แต่จากผลการศึกษาพบว่าค่า R ของหอถังสูงจากแบบก่อสร้างมาตรฐานในประเทศไทยทั้งแบบขนาดความจุ 300 ลูกบาศก์เมตร และขนาดความจุ 500 ลูกบาศก์เมตรซึ่งมีโครงสร้างรองรับเป็นระบบโครงสร้างกำแพงรับแรงเฉือน ได้ค่า R เท่ากับ 6.46 และ 6.27 ตามลำดับ ซึ่งได้ค่าที่มากกว่าเมื่อเทียบกับค่า R ที่กำหนดในมาตรฐานสำหรับระบบโครงสร้างกำแพงรับแรงเฉือนที่ใช้สำหรับในอาคาร
##plugins.generic.usageStats.downloads##
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์