อิทธิพลของระยะห่างระหว่างหัวเจาะต่อการทรุดตัวของผิวดินจากการก่อสร้าง อุโมงค์คู่ - การวิเคราะห์เชิงตัวเลขแบบสามมิติ

  • ทิพวรรณ อิ่มเอิบ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • ประทีป หลือประเสริฐ
  • พรเกษม จงประดิษฐ์
คำสำคัญ: ไฟไนต์อิลิเมนต์ 3มิติ, อุโมงค์คู่, ระยะห่างระหว่างหัวเจาะ, สมการ, การทรุดตัวของผิวดิน

บทคัดย่อ

การทำนายค่าการทรุดตัวของผิวดิน (Surface settlement) จากการขุดเจาะอุโมงค์คู่ โดยหัวเจาะแบบปรับความดันดินสมดุล (Earth pressure balance shield) มีความสำคัญในการประเมินผลกระทบเบื้องต้นที่จะเกิดขึ้นในขณะการก่อสร้างเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากการขุดเจาะอุโมงค์ ที่ผ่านมามีการนำเสนอวิธีการประมาณค่าการทรุดตัวของผิวดินจากอุโมงค์คู่หลายวิธี ใช้วิธีทับซ้อนกราฟ (Superposition technique) โดยประยุกต์ใช้ร่วมกับสมการ Gaussian เป็นการรวมแนวการทรุดตัวของผิวดินจากอุโมงค์ตัวแรกเข้ากับแนวการทรุดตัวจากอุโมงค์ตัวที่สองซึ่งค่าที่ได้จะเป็นแนวการทรุดตัวโดยรวมที่เกิดจากการก่อสร้างอุโมงค์คู่ อย่างไรก็การศึกษาก่อนหน้ายังไม่ได้พิจารณาระยะห่างระหว่างหัวเจาะ (Lagging Distance) ซึ่งมีผลกระทบต่อค่าของการทรุดตัวของผิวดิน ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงศึกษาอิทธิพลของระยะห่างระหว่างหัวเจาะต่อการทรุดตัวของผิวดิน จากการขุดเจาะอุโมงค์คู่เพื่อให้เข้าใจและเป็นข้อมูลสำหรับการพัฒนาสมการต่อไป โดยจะใช้การวิเคราะห์เชิงตัวเลขแบบสามมิติ วิธีไฟไนต์อิลิเมนต์ กับปัญหาต้นแบบอุโมงค์รถไฟฟ้ามหานครที่มีผลตรวจวัดให้ปรับเทียบได้ ในการวิเคราะห์ได้แปรเปลี่ยนค่าระยะห่างระหว่างหัวเจาะ และระยะห่างระหว่างอุโมงค์ทั้งสอง เพื่อตรวจสอบการทรุดตัวโดยรวมที่เกิดขึ้น

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2020-07-09
How to Cite
[1]
อิ่มเอิบท., หลือประเสริฐป. และ จงประดิษฐ์พ. 2020. อิทธิพลของระยะห่างระหว่างหัวเจาะต่อการทรุดตัวของผิวดินจากการก่อสร้าง อุโมงค์คู่ - การวิเคราะห์เชิงตัวเลขแบบสามมิติ. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), GTE10.

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้

1 2 > >>