ประสบการณ์การใช้เกณฑ์การประเมินเพื่อรับรองหลักสูตรตามแนวทาง ABET และ AUN-QA

การเปรียบเทียบเกณฑ์การประเมินเพื่อรับรองหลักสูตร (accreditation)

  • สิทธิชัย แสงอาทิตย์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
คำสำคัญ: ABET, AUN-QA, Accreditation

บทคัดย่อ

รัฐบาล โดยกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และสภาวิศวกร มีนโยบายในการนำแนวทางการรับรองหลักสูตรของ ABET มาประยุกต์ใช้ เพื่อการรับรองหลักสูตรด้านวิศวกรรมศาสตร์ไทยสู่ระดับสากล โดย อว. ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการภายใต้โครงการขับเคลื่อนให้สถาบันอุดมศึกษาไทยได้รับการรับรองจาก ABET ภายในปี พ.ศ.2565 ซึ่งสาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีได้เข้าร่วมโครงการดังกล่าว โดยในช่วงสามปีการศึกษาที่ผ่านมา สาขาฯ ได้ดำเนินการประกันคุณภาพภายใน ทั้งในระบบ AUN-QA ระบบ TABEE และ ระบบ ABET โดยตามระบบ ABET ได้รับการ mock-up visit จากผู้ทรงคุณวุฒิจากประเทศสหรัฐอเมริกา รวม 2 ครั้ง จากประสบการณ์ข้างต้น บทความวิชาการนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการเปรียบเทียบเกณฑ์การประเมินเพื่อรับรองหลักสูตรตามแนวทาง ABET และ AUN-QA เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในการนำเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องมาลงปฏิบัติ เพื่อการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องของหลักสูตรและสู่การรับรองหลักสูตรของ ABET ในอนาคต

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด

รายการอ้างอิง

1. Accreditation Policy and Procedure Manual (APPM), 2019-2020, ABET, 2018. (https://www.abet.org/accreditation/accreditation-criteria/accreditation-policy-and-procedure-manual-appm-2019-2020/)
2. Guide to AUN-QA Assessment at Program Level v.3.0, ASEAN University Network, 2015. (http://www.aunsec.org/pdf/Guide%20to%20AUN-QA%20Assessment%20at%20Program%20Level%20Version%203_2015.pdf)
3. “คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา CUPT QA ฉบับปีการศึกษา 2558-2560” (2558). ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย. (http://web.sut.ac.th/qa/CUPT_QA/590304-CUPT_QA_manual2558_60.pdf)
เผยแพร่แล้ว
2020-07-06

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้