การศึกษาเชิงทดสอบคอนกรีตเสริม FRP rebars ภายใต้แรงอัดในแนวแกน
การศึกษาเชิงทดสอบคอนกรีตเสริม FRP rebars:
บทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอผลการศึกษาเชิงทดสอบของคอนกรีตเสริม FRP rebars ภายใต้แรงอัดในแนวแกน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาพฤติกรรมทางกล ลักษณะการวิบัติ และกำลังของคอนกรีตเสริม FRP rebars และเพื่อเปรียบเทียบผลที่ได้กับผลการทดสอบดังกล่าวของคอนกรีตและคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยมีตัวอย่างทดสอบเป็นตัวอย่างทดสอบหน้าตัดกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 150 มม. และสูง 300 มม. รวม 84 ตัวอย่าง มีตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาคือ กำลังอัดประลัยของคอนกรีตได้แก่ 300ksc 350ksc 400ksc และ 500ksc และร้อยละของพื้นที่หน้าตัดวัสดุเสริมกำลัง (steel rebars และ FRP rebars) ต่อพื้นที่หน้าตัดของคอนกรีต ได้แก่ 0% 2.56% 3.84% และ 5.12% และเหล็กปลอกมีค่าคงที่เท่ากันทุกตัวอย่างทดสอบ จากการทดสอบ พบว่า ตัวอย่างทดสอบคอนกรีตเสริม FRP rebars มีพฤติกรรมการรับแรงแบบเชิงเส้นในช่วงแรกสูงถึง 60-80% ของกำลังรับแรงสูงสุดคล้ายคลึงกับคอนกรีตเสริมเหล็ก และสูงกว่าคอนกรีต จากนั้น จะเข้าสู่พฤติกรรมแบบไร้เชิงเส้น (nonlinear) จนถึงจุดรับแรงสูงสุดและมีกำลังลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยรูปแบบการวิบัติของคอนกรีตเสริม FRP rebars มีลักษณะเปราะมากกว่าคอนกรีตเสริมเหล็ก แต่น้อยกว่าคอนกรีต และสุดท้าย FRP rebars สามารถเพิ่มกำลังรับแรงอัดของคอนกรีตได้เพิ่มขึ้นอยู่ในช่วง 18-45% เมื่อเปรียบเทียบกับเหล็กเสริมที่เสริมกำลังคอนกรีตได้ 22-70%
จำนวนการดาวน์โหลด
รายการอ้างอิง
2. M. Z. Afifi, H. Mohamed, B. Benmokrane, Strength and Axial Behavior of Circular Concrete Columns Reinforced with CFRP Bars and Spirals, Journal of Composites for Construction, 2013.
3. ACI Committee 440, Guide for the Design and Construction of Structural Concrete Reinforced with FRP Bars (ACI 440.1R-06), American Concrete Institute, Farmington Hills, MI, 2006.
4. Canadian Standards Association , 2006- S6S1-10 Edition 2010. Canadian Highway Bridge Design Code , CANCSA-S6-06, Rexdale, Toronto.
Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์