การวิเคราะห์ปัญหาการจัดการทรัพยากรกายภาพของอาคารเรียนสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ

  • จริยา เรืองเดช ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พิมพ์สิริ โตวิจิตร
  • สุนิตา นุเสน
  • มานพ แก้วโมราเจริญ
คำสำคัญ: การจัดการทรัพยากรกายภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาสภาพกายภาพของอาคาร ระบบประกอบอาคาร การใช้งานอาคาร และการบริหารจัดการทรัพยากรอาคาร วิเคราะห์ปัญหาการจัดการทรัพยากรกายภาพของอาคารเรียนคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อเป็นแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษาและบริหารจัดการอาคาร โดยการศึกษา แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 คือการวิเคราะห์ปัญหาด้านกายภาพของอาคาร จากการศึกษาพบว่า ปัจจุบันอาคารอยู่ในสภาพใช้งานได้ดี สภาพปัญหาที่ต้องปรับปรุง เนื่องมาจากความเสื่อมสภาพของระบบประกอบอาคารตามอายุอาคาร โดยเป็นการบำรุงรักษาเชิงรับ ดังนั้นควรมีการเพิ่มนโยบายการดูแลรักษาในเชิงรุก ตรวจสอบติดตามผลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานอาคารให้มากยิ่งขึ้น และส่วนที่ 2 คือการวิเคราะห์ปัญหาด้านการบริหารจัดการอาคาร จากการเก็บรวบรวมแบบสอบถามผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดูแลอาคารสถานที่ พบว่าปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจัดการอาคารมากที่สุดคือ ด้านวัฒนธรรม ในการใช้อาคารโดยขาดความตระหนักในการช่วยดูแลรักษาอาคาร ดังนั้นควรมีการจัดการเพื่อกระตุ้นให้ความตระหนักในการช่วยกันดูแลรักษาอาคาร มีการจัดสรรงบประมาณในส่วนนี้โดยเฉพาะ และพัฒนาองค์ความรู้และศักยภาพของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ซึ่งจะนำไปสู่ทัศนคติที่ดีต่อการมีส่วนร่วมดูแลรักษาอาคารของผู้ใช้อาคาร มีการวางแผน ติดตามผล และพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้นต่อไป

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2020-07-08
How to Cite
[1]
เรืองเดชจ., โตวิจิตรพ., นุเสนส. และ แก้วโมราเจริญม. 2020. การวิเคราะห์ปัญหาการจัดการทรัพยากรกายภาพของอาคารเรียนสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), CEM13.

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้

1 2 > >>