ความคุ้มค่าคุ้มทุนในการนำพรินเตอร์ 3 มิติ ร่วมกับแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (BIM) มาใช้ในกระบวนการออกแบบก่อสร้าง
คำสำคัญ:
พรินเตอร์ 3 มิติ, แบบจำลองสารสนเทศอาคาร, ออกแบบบทคัดย่อ
ในปัจจุบันการออกแบบอาคารในประเทศไทยมักพบปัญหาความล่าช้าที่เกิดจากขั้นตอนการออกแบบ การทำงานที่ซ้ำซ้อน ซึ่งส่งผลให้เกิดระยะเวลาในการทำงานที่นาน เกิดการสิ้นเปลืองต้นทุนและทรัพยากรบุคคล อีกทั้งแบบก่อสร้างไม่มีมาตรฐาน ก่อให้เกิดความผิดพลาดในการนำไปก่อสร้างอาคารของผู้รับเหมา เพื่อศึกษาความคุ้มค่า คุ้มทุนในการทำแบบจำลองสารสนเทศอาคาร ใช้ในกระบวนการออกแบบก่อสร้าง การถอดราคาวัสดุ และการนำข้อมูลมาใช้โดยการแปลงไฟล์ซอฟต์แวร์เพื่อนำไป ใช้ขึ้นรูปอาคาร 3 มิติ โดยเครื่องพรินเตอร์ 3 มิติ จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาเปรียบเทียบความคุ้มค่า ความคุ้มทุน เวลาและมาตรฐานแบบก่อสร้าง การขึ้นชิ้นงาน 3 มิติ ซึ่งผลงานวิจัยเบื้องต้นพบว่าการออกแบบก่อสร้างอาคาร ทำให้ลดเวลาในการทำแบบจำลองสารสนเทศอาคาร มีความแม่นยำกว่าการใช้ ทรัพยากรบุคคลในการถอดราคาแบบปัจจุบัน และสามารถนำข้อมูลการทำแบบจำลองสารสนเทศอาคาร มาใช้ขึ้นรูปอาคารชิ้นงาน 3 มิติ ได้รวดเร็วกว่าปัจจุบันและชิ้นงานสามารถถอด ส่วน ประกอบอาคารให้เห็นรายละเอียดของอาคารได้ตามมาตรฐานถูกต้องตามแบบ และยังลดระยะเวลากับ ต้นทุนการใช้ทรัพยากรบุคคลในการตัดชิ้นงานอาคารได้ตามที่คาดการณ์ไว้
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
##category.category##
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์