การวิเคราะห์ข้อมูลในกระบวนการบริหารงานก่อสร้างโดยใช้ ธุรกิจอัจฉริยะในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงาน
คำสำคัญ:
ธุรกิจอัจฉริยะ, รูปแบบเสมือนจริงบทคัดย่อ
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) มีภารกิจในการจัดหา ให้บริการพลังงานไฟฟ้าและดำเนินธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้เกิดความพึงพอใจทั้งด้านคุณภาพและบริการ จากการวิเคราะห์ปัญหาการปิดงานและขึ้นทรัพย์สินระหว่างก่อสร้าง พบว่าการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลในรูปแบบเดิมเป็นการประมวลค่าตัวเลขทางสถิติที่มีความซับซ้อน มุมมองรูปแบบของรายงานจะออกมาเป็นตัวเลขและข้อความ ซึ่งเป็นมุมมองที่น่าเบื่อหน่าย ไม่มีแรงจูงใจในการติดตามข้อมูล จึงเป็นสาเหตุของการบริหารงานก่อสร้างที่ผิดพลาดส่งผลกระทบกับการปิดบัญชีและขึ้นทรัพย์สินงานระหว่างก่อสร้างไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด และนอกจากนี้ยังส่งผลกระทบไปถึงอัตราส่วนผลตอบแทนจากการลงทุนขององค์กรไม่เป็นไปตามค่าเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานกำหนด โปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ในงานธุรกิจอัจฉริยะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่มาช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าว บทความนี้ได้ทดลองนำโปรแกรมสำเร็จรูประบบงานธุรกิจอัจฉริยะมาวิเคราะห์ เชื่อมต่อ แปลง และแสดงข้อมูลรายงานผลออกมาในรูปแบบเสมือนจริง ทำให้ง่ายต่อการตัดสินใจ และบริหารจัดการงานก่อสร้างด้านการวางแผนงาน การจัดลำดับความสำคัญของงาน การบริหารพัสดุและงบประมาณ การเร่งรัดและติดตามผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมายระดับปฏิบัติงาน รวมถึงเป็นเครื่องมือสำหรับผู้บริหารระดับสูงใช้ในการประเมินติดตามงานให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดขององค์กรต่อไป
##plugins.generic.usageStats.downloads##
เอกสารอ้างอิง
จิรสิน กิตานุวัฒน์ (2558). ความสัมพันธ์ของแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และการจัดการข้อมูลเพื่อความสำเร็จของกิจการในกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีชมงคลธัญบุรี)
Competitive Advantage. Massachusetts: Harvard Business School Press. Collins, B. 1997. Better Business: How to Learn More about Your Company.
Eckerson, W.(1998). Business Portals : Drivers, Definition, and Rales. The Data Warehousing Institute, Gaithersburg, MD.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์