การศึกษาด้านแหล่งน้ำเพื่อการจัดการความเสี่ยงน้ำท่วมของลุ่มน้ำเจ้าพระยาเชิงกลยุทธ์

  • ชนะศักดิ์ แสงสกุล ภาควิชาครุศาสตร์โยธา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • รณกร สนธิแก้ว ภาควิชาครุศาสตร์โยธา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • สนิท วงษา
คำสำคัญ: การบริหารจัดการน้ำท่วม, แผนที่น้ำท่วม, แผนที่ความเสี่ยงน้ำท่วม, แบบจำลองคณิตศาสตร์iRIC, น้ำท่วมแม่น้ำเจ้าพระยา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการพัฒนาแบบจำลองคณิตศาสตร์เพื่อศึกษาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่บริเวณสถานี C.2 ค่ายจิรประวัติ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ถึงบริเวณปากอ่าวไทย อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการวัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้คือการศึกษาด้านแหล่งน้ำเพื่อการจัดการความเสี่ยงน้ำท่วมของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ในการจำลองการเกิดน้ำท่วมได้ใช้แบบจำลองคณิตศาสตร์ iRIC (Nays2DFlood) และแบบจำลองความสูงเชิงเลข Digital Elevation Model จาก NASA Earth science data ที่มีความละเอียด 30*30 เมตร ในระบบพิกัด UTM โดยอ้างอิงจาก WGS1984 UTM Zone 47N และใช้ข้อมูลอัตราการไหลจากแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วงเกิดมหาอุทกภัยปี 2554 ตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม ถึง 30 ตุลาคม เป็นข้อมูลป้อนเข้าแบบจำลอง เพื่อศึกษาลักษณะการไหลของน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำและประเมินผล รวมถึงคาดการณ์พื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมภายใต้ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่สถานี C.2 และนำผลที่ได้จาก Nays2DFlood มาจัดทำแผนที่น้ำท่วม ซึ่งแผนที่จะแสดงค่าความลึกและบริเวณพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วม เพื่อหาแนวทางหรือมาตรการป้องกันและบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2020-07-08
How to Cite
[1]
แสงสกุลช., สนธิแก้ว ร. และ วงษาส. 2020. การศึกษาด้านแหล่งน้ำเพื่อการจัดการความเสี่ยงน้ำท่วมของลุ่มน้ำเจ้าพระยาเชิงกลยุทธ์. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), WRE02.

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้