การศึกษาการวิบัติของสะพานคลองวังยาวเนื่องจากน้ำท่วมปี 2560 โดยการใช้แบบจำลองประยุกต์ iRIC

ผู้แต่ง

  • หะริน คัมภีรศาสตร์ ภาควิชาครุศาสตร์โยธา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • สนิท วงษา

คำสำคัญ:

น้ำท่วมภาคใต้, แบบจำลองทางชลศาสตร์iRIC, การวิบัติของสะพาน

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการศึกษาการวิบัติของสะพานคลองวังยาวเนื่องจากน้ำท่วมปี 2560 โดยใช้แบบจำลองทางชลศาสตร์ iRIC เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมทางชลศาสตร์ ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลค่าระดับคราบน้ำท่วมจริงในพื้นที่และวิเคราะห์ค่าพารามิเตอร์เพื่อประยุกต์ใช้ในการศึกษาพฤติกรรมการวิบัติของสะพานโดยแบ่งเป็น 4 กรณี คือ กรณีที่ 1 มีสิ่งกีดขวางแบบไม่มีการเปลี่ยนแปลงท้องน้ำ กรณีที่ 2 มีสิ่งกีดขวางแบบมีการเปลี่ยนแปลงท้องน้ำ กรณีที่ 3 มีสิ่งกีดขวางแบบมีการเปลี่ยนแปลงท้องน้ำและกัดเซาะตลิ่ง กรณีที่ 4 มีสิ่งกีดขวางแบบมีการเปลี่ยนแปลงท้องน้ำ กัดเซาะตลิ่ง และมีการเปลี่ยนขนาดตอม่อสะพาน จากกรณีศึกษาทั้ง 4 กรณี พบว่าพฤติกรรมการไหลของน้ำมีการไหลที่ผิดปกติ อันเนื่องมาจากสิ่งกีดขวางหรือตอม่อสะพาน ส่งผลให้เกิดการกัดเซาะบริเวณตอม่อของสะพานคลองวังยาวจึงเป็นสาเหตุให้เกิดการวิบัติของสะพาน จากการศึกษาพบว่าการออกแบบตอม่อสะพานให้เล็กลงและสร้างแนวป้องกันการกัดเซาะบริเวณริมตลิ่งสามารถช่วยป้องกันการกัดเซาะในบริเวณสะพานคลองวังยาวได้

 

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-07-08

วิธีการอ้างอิง

[1]
คัมภีรศาสตร์ ห. และ วงษา ส. 2020. การศึกษาการวิบัติของสะพานคลองวังยาวเนื่องจากน้ำท่วมปี 2560 โดยการใช้แบบจำลองประยุกต์ iRIC. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), WRE20.

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##