การศึกษาด้านแหล่งน้ำเพื่อการจัดการความเสี่ยงน้ำท่วมของลุ่มน้ำปิง และน่านเชิงกลยุทธ์

ผู้แต่ง

  • จิรนันท์ เพชรนุ้ย ภาควิชาครุศาสตร์โยธา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมเเละเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ณัฐธิดา คงมาก ภาควิชาครุศาสตร์โยธา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมเเละเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ณัฐวาณี เรียงสมบูรณ์ ภาควิชาครุศาสตร์โยธา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมเเละเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ภาวินี น้อยท่าทอง ภาควิชาครุศาสตร์โยธา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมเเละเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • สนิท วงษา ภาควิชาครุศาสตร์โยธา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมเเละเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

คำสำคัญ:

แม่น้ำปิง, แม่น้ำน่าน, แบบจำลองคณิตศาสตร์ iRIC, แผนที่น้ำท่วม, การบริหารจัดการน้ำท่วม

บทคัดย่อ

จากเหตุการณ์วิกฤติน้ำท่วมปี 2554 ที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยบริเวณลุ่มน้ำปิงและน่านตอนล่าง ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมหนักในหลายจังหวัดทางภาคเหนือ ก่อให้เกิดความเสียหายในทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ทางผู้วิจัยจึงได้ศึกษาการจัดการความเสี่ยงน้ำในแต่ละพื้นที่ที่จะเกิดน้ำท่วม โดยจุดประสงค์การทำวิจัยคือเพื่อศึกษาพฤติกรรมด้านชลศาสตร์ของลุ่มน้ำภายใต้การบริหารจัดการน้ำ และเพื่อประเมินผล รวมถึงคาดการณ์พื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมที่อาจจะเกิดในอนาคต ด้วยการใช้โปรแกรม ArcGIS เป็นเครื่องมือในการเตรียมข้อมูล Digital Elevation Model จาก EarthData - NASA ของพื้นที่ศึกษา ซึ่งมีความละเอียด 30*30 เมตร และใช้แบบจำลองคณิตศาสตร์ iRIC (Nays2D Flood) เป็นเครื่องมือในการจำลองลักษณะการไหลของลุ่มน้ำ โดยลุ่มน้ำปิงศึกษาการไหลตั้งแต่ท้ายเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก และลุ่มน้ำน่านศึกษาตั้งแต่ท้ายเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ จนถึงปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ และนำผลการคำนวณมาจัดทำแผนที่น้ำท่วมและแผนที่ความเสี่ยงน้ำท่วม ซึ่งจะแสดงจังหวัดที่เกิดน้ำท่วม เสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมและระดับความลึกของน้ำ เพื่อเตรียมความพร้อมในการบริหารจัดการน้ำหากเกิดน้ำท่วมในอนาคต

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-07-08

วิธีการอ้างอิง

[1]
เพชรนุ้ย จ. และคณะ 2020. การศึกษาด้านแหล่งน้ำเพื่อการจัดการความเสี่ยงน้ำท่วมของลุ่มน้ำปิง และน่านเชิงกลยุทธ์. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), WRE08.

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##