การศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมระบบปกคลุมดินแบบธรรมชาติสำหรับลาดเหนือคันทาง กรณีศึกษาลาดเหนือคันทางทล. 1192
คำสำคัญ:
ระบบปกคลุมดินแบบธรรมชาติ, การกัดเซาะดิน, ลาดเหนือคันทาง, ความชื้นดิน, ระบบตรวจวัดเชิงลาดบทคัดย่อ
ปัญหาการกัดเซาะลาดเหนือคันทางมักเกิดขึ้นบ่อยครั้งในช่วงฝนตกหนัก บทความนี้นำเสนอพฤติกรรมของระบบปกคลุมแบบธรรมชาติ 3 รูปแบบได้แก่ 1) หญ้าแฝกและรั้วไม้ไผ่ 2) ผ้าห่มดินและหมอนกันดิน 3) ระบบป้องกันคาปิลลารี่ ในแปลงทดลองฝั่งลาดเหนือคันทางทล. 1192 (กม. 11+500) จังหวัดเชียงใหม่ ความชันประมาณ 45 องศา สูง 10 เมตร ซึ่งเป็นดินคงค้างในที่จากหินแกรนิตผุมีการกัดเซาะรุนแรง ผลการศึกษาการตรวจวัดความชื้น แรงดันน้ำค่าบวกและลบ และน้ำฝน พบว่า ระบบป้องกันคาปิลลารี่ซึ่งประยุกต์ใช้ถ่านชีวภาพและวัสดุมวลรวมแอสฟัลต์รีไซเคิล สามารถป้องกันกัดเซาะได้ดีที่สุด และสามารถรักษาค่าแรงดูดในลาดดินได้อย่างดี และพบว่าการใช้เสาเข็มสกรูร่วมกับกระสอบแบบมีปีกและไม้ปักชำเพื่อป้องกันการกัดเซาะที่ฐานเชิงลาดสามารถป้องกันการพังทลายของลาดดินระดับตื้นได้อย่างดี เมื่อเปรียบเทียบกับลาดซึ่งไม่มีระบบป้องกัน