การประยุกต์ใช้วัสดุไบโอชาร์ในการป้องกันการกัดเซาะและเสถียรภาพของทางลาด

ผู้แต่ง

  • ธนนพ เหมือนเหลา ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อภินิติ โชติสังกาศ
  • อภินิติ โชติสังกาศ
  • ศุภกิจ นนทนานันท์
  • สุรเชษฐ์ อร่ามรักษ์

คำสำคัญ:

การกัดเซาะ, ไบโอชาร์, ระบบกั้นคาพิลารี, การไหลซึม

บทคัดย่อ

การกัดเซาะเป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้ทางลาดมีเสถียรภาพลดลง เนื่องจากในช่วงฤดูฝนจะเกิดการชะล้างหน้าดินและเกิดกัดเซาะเป็นร่องลึกบริเวณตีนลาด (Toe slope) อาจส่งผลให้ลาดดินเกิดการพิบัติได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการใช้ถ่านไบโอชาร์จากซังข้าวโพดเพื่อปรับปรุงคุณภาพดินที่มีการกัดเซาะสูง โดยทำการทดสอบการกัดเซาะของดินด้วยวิธี Submerged Jet Test (JET) และศึกษาพฤติกรรมการไหลซึมของน้ำโดยการสร้างแบบจำลองคอลัมน์ดินในห้องปฏิบัติการ พื้นที่ศึกษาบริเวณเขตทางหลวง ทล.1192 ต.ท่าพระ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ โดยใช้ทฤษฎีระบบกั้นคาพิลารี (Capillary barrier System) จากผลการศึกษาพบว่าการปรับปรุงคุณภาพด้วยการผสมไบโอชาร์ที่มากขึ้น โดยปราศจากการบ่ม ทำให้การยึดเกาะอนุภาคของดินต่ำลงในช่วงแรก การจัดเรียงอนุภาคหลวมขึ้นเนื่องจากไบโอชาร์เป็นวัสดุที่มีรูพรุนสูง หากไม่มีการบ่มจะส่งผลให้เกิดการกัดเซาะมากกว่าดินที่ไม่ได้ผสมไบโอชาร์ และพบว่าการใช้ระบบกั้นคาพิลารีช่วยลดการแทรกซึมของน้ำได้ในช่วงแรก จึงควรบรรจุดินที่ได้รับการปรับปรุงในวัสดุจีโอเซล (Geocell) ในลักษณะของระบบกั้นพิลารี่ ซึ่งส่งผลให้เสถียรภาพของลาดดินเพิ่มขึ้น จนถึงจุดที่ปริมาณน้ำฝนเกิดค่าวิกฤติซึ่งมีการไหลซึมทะลุผ่านชั้นคาพิลารี่ และเสถียรภาพของลาดมีค่าลดลง

Downloads

Download data is not yet available.

ประวัติผู้แต่ง

ศุภกิจ นนทนานันท์

Erosion is an important issue that reduces slope stability and causes failure. During the rainy season, soil erosion especially near slope toe are likely to result in slope failure. The study aims to evaluate the use of biochar from corn cobs to improve soil erodibility. A soil erosion test was conducted using the Submerged Jet Test (JET) and the 1D seepage behavior was studied using a vertical soil column on soil collected in the study area of the highway area. 1192, Tha Phra Subdistrict, Mae Cham District. Chiang Mai, based on the capillary barrier system (CBS) theory. The results, however, show that by adding more biochar without curing time, the erodibility of the soil was increased. Therefore, in order to use biochar to promote plant growth in the capillary barrier system, some containers like geocell should be used to contain the soil-biochar mix to increase stability. However, a critical rainfall was found that can cause the water to penetrate the barrier.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-07

วิธีการอ้างอิง

เหมือนเหลา ธ., โชติสังกาศ อ. ., โชติสังกาศ อ. ., นนทนานันท์ ศ. ., & อร่ามรักษ์ ส. (2023). การประยุกต์ใช้วัสดุไบโอชาร์ในการป้องกันการกัดเซาะและเสถียรภาพของทางลาด. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, GTE26–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2130

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##