การสำรวจการรับรู้และการมองเห็นทางข้ามถนนของผู้ขับขี่บนถนนในเขตเมืองเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ปาณัสม์ ศรีนนท์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • นพดล กรประเสริฐ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ความปลอดภัยทางถนน, ทางข้ามถนน, ป้ายจราจร, การรับรู้

บทคัดย่อ

ในปัจจุบัน ทางข้ามถนนในเขตเมืองได้รับการปรับปรุงและติดตั้งอุปกรณ์แนะนำและเตือนผู้ขับขี่ถึงตำแหน่งทางข้ามหลายมาตรการ ตัวอย่างเช่น เครื่องหมายทางม้าลาย ป้ายแนะนำตำแหน่งทางข้าม ป้ายเตือนระวังคนข้าม เส้นจราจรหยุดรถ เส้นจราจรชะลอความเร็ว ไฟกระพริบเตือน และสัญญาณไฟจราจรทางข้าม เป็นต้น ซึ่งเริ่มมีการใช้งานอย่างแพร่หลายมากขึ้นในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม การศึกษาถึงประสิทธิภาพด้านการรับรู้และมองเห็นทางข้ามของผู้ขับขี่จากการติดตั้งอุปกรณ์บริเวณทางข้ามในรูปแบบที่แตกต่างกันนั้นยังมีอยู่อย่างจำกัด การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการรับรู้และการมองเห็นทางข้ามถนนที่มีรูปแบบของมาตรการเพิ่มความปลอดภัยบริเวณทางข้ามที่แตกต่างกันของผู้ขับขี่บนถนนในเขตเมืองเชียงใหม่ โดยการสำรวจวิเคราะห์ระยะการตรวจจับทางข้ามของผู้ขับขี่ผ่านการวิเคราะห์ด้วยภาพวิดีโอขณะเดินทางผ่านทางข้ามทั้งในช่วงเวลากลางวันและกลางคืน ทั้งนี้ระยะตรวจจับทางข้ามจะเป็นตัวบ่งชี้ถึงความสามารถในการเตือนและแนะนำผู้ขับขี่ให้รับรู้ถึงทางข้าม ผลของการศึกษานี้พบว่าระยะการตรวจจับมาตรการสัมพันธ์กับช่วงเวลาในการเก็บข้อมูลและรูปแบบของมาตรการ โดยในช่วงเวลากลางคืน ระยะการตรวจจับเฉลี่ยน้อยกว่าในช่วงเวลากลางวัน มาตรการที่มีระยะการตรวจจับเฉลี่ยมากสุดคือมาตรการสัญญาณไฟจราจรทางข้าม อยู่ที่ 87.9 เมตร มาตรการที่มีระยะการตรวจจับเฉลี่ยน้อยสุดคือมาตรการป้ายตำแหน่งทางข้าม อยู่ที่ 52.7 เมตร

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-08

วิธีการอ้างอิง

ศรีนนท์ ป., & กรประเสริฐ น. (2023). การสำรวจการรับรู้และการมองเห็นทางข้ามถนนของผู้ขับขี่บนถนนในเขตเมืองเชียงใหม่. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, TRL34–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2277

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##