การประเมินประสิทธิภาพของป้ายแสดงความเร็วของยานพาหนะ

  • วรากรณ์ วรลักษณ์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ศ.ธเนศ เสถียรนาม ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ศ.ดร.วิชุดา เสถียรนาม ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • เฉลิมเกียรติ ศรีละกูล
  • นพดล กรประเสริฐ
คำสำคัญ: ป้ายแสดงความเร็ว, ป้ายบอกความเร็ว, การควบคุมความเร็ว

บทคัดย่อ

ป้ายแสดงความเร็ว เป็นป้ายวัดความเร็วของยานพาหนะและแสดงความเร็ว ณ ขณะนั้นให้ผู้ขับขี่รับรู้ เพื่อแจ้งให้ผู้ขับขี่รับทราบถึงความเร็วของตนเองและความเร็วที่จำกัดไว้ ณ บริเวณนั้น ซึ่งเป็นมาตรการเชิงรับ (Passive) เพื่อเตือนการใช้ความเร็วของผู้ขับขี่ ป้ายประเภทนี้มีการติดตั้งกันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย แต่ยังไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพของป้ายอย่างแน่ชัด การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินประสิทธิภาพและผลกระทบจากป้ายแสดงความเร็ว ต่อการใช้ความเร็วของผู้ขับขี่ยานพาหนะ โดยพื้นที่ศึกษาเป็นโครงข่ายถนนภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่มีโครงการติดตั้งป้ายแสดงความเร็วบนโครงข่ายถนน ทั้งหมด 18 จุด มีการกำหนดขีดจำกัดความเร็วที่ 50 กม./ชม. ทั้งโครงข่ายถนนครอบคลุมพื้นที่ทั้งมหาวิทยาลัย และทำการวิเคราะห์ผลโดยการเปรียบเทียบระหว่างความเร็วก่อนและหลังการติดตั้ง แต่จะเลือกตำแหน่งเก็บข้อมูลมา 7 ตำแหน่ง จากทั้งหมด 18 ตำแหน่ง จากนั้นการประเมินผลจะแบ่งแยกตามประเภทของยานพาหนะ และเปรียบเทียบระหว่างช่วงเวลากลางวันกับเวลากลางคืน ผลการศึกษา จากการทดสอบทางสถิติพบว่า ยานพาหนะประเภทรถยนต์ส่วนบุคคลมีความเร็วลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ที่ร้อยละ 11.04 ในช่วงเวลากลางวัน และร้อยละ 11.41 ในช่วงเวลากลางคืน ในขณะที่ความเร็วเฉลี่ยของรถจักรยานยนต์ ความเร็วลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ที่ร้อยละ 8.5 ในช่วงเวลากลางวัน และร้อยละ 12.2 ในช่วงเวลากลางคืน

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2023-07-08

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้

1 2 > >>