พฤติกรรมของโครงสร้างฐานรากทางรถไฟภายใต้แรงกระทำเนื่องจากน้ำหนักรถไฟ

ผู้แต่ง

  • ฐิตินันท์ อินธนู ศูนย์วิจัยภัยพิบัติทางธรรมชาติภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ธนันท์ ชุบอุปการ
  • ธนิต เฉลิมยานนท์
  • ชยุตพงศ์ มานะกุล

คำสำคัญ:

โครงสร้างฐานรากทางรถไฟ, แรงสั่นสะเทือน, น้ำหนักรถไฟ

บทคัดย่อ

โครงสร้างฐานรากของทางรถไฟ ประกอบด้วย ชั้นดินเดิม (Subsoil) ชั้นรองพื้นทาง (Subgrade) ชั้นรองหินโรยทาง (Sub ballast) และชั้นหินโรยทาง (Ballast) ซึ่งพฤติกรรมการสั่นสะเทือนที่เกิดจากแรงกระทำแบบพลศาสตร์เนื่องจากการเดินรถเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้โครงสร้างฐานรากทางรถไฟเกิดความเสียหาย จนเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุ ความล่าช้า และความไม่สะดวกสบายในการโดยสาร แต่การวิเคราะห์การสั่นสะเทือนโดยตรงทำได้ยาก เนื่องจากโครงสร้างฐานรากของทางรถไฟมีส่วนประกอบหลายชั้น ดังนั้น ในการศึกษาครั้งนี้ จะทำการประเมินพฤติกรรมของโครงสร้างฐานรากของทางรถไฟ เมื่อได้รับแรงกระทำเนื่องจากน้ำหนักรถไฟแบบสถิตยศาสตร์ (Static Load) เปรียบเทียบที่คุณภาพวัสดุต่าง ๆ ของโครงสร้างฐานรากทางรถไฟ โดยใช้แบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์แบบ 3 มิติ ด้วยโปรแกรม PLAXIS 3D ผลการวิเคราะห์ พบว่า เมื่อชั้นวัสดุโครงสร้างมีคุณภาพแย่ โครงสร้างทางรถไฟมีค่าการทรุดตัวสูงสุดประมาณ 30.0 มิลลิเมตร มีค่าการกระจายความเค้นสูงสุดในแนวดิ่ง ประมาณ 0.11 MPa และค่าโมดูลัสมีค่าการกระจายตัวมากที่สุดอยู่ในช่วง 5,000 – 80,000 MPa ในโครงสร้างชั้นดินเดิม แสดงให้เห็นว่าคุณสมบัติในชั้นดินเดิมมีผลต่อการโก่งตัวของรางรถไฟมากกว่าชั้นทางอื่น ๆ ดังนั้นในการซ่อมบำรุงทางรถไฟควรให้ความสำคัญในการปรับปรุง ซ่อมแซมในโครงสร้างชั้นดินเดิมด้วย นอกเหนือจากการปรับปรุงในชั้นหินโรยทาง

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-06

วิธีการอ้างอิง

อินธนู ฐ., ชุบอุปการ ธ., เฉลิมยานนท์ ธ., & มานะกุล ช. . (2023). พฤติกรรมของโครงสร้างฐานรากทางรถไฟภายใต้แรงกระทำเนื่องจากน้ำหนักรถไฟ. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, GTE07–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2255

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##