การศึกษาความเหมาะสมของการใช้ดินเหนียวจังหวัดสงขลา ผสมเถ้าลอยไม้ยางพาราสำหรับชั้นกันซึมของบ่อฝังกลบมูลฝอย

  • ณัฐรัตน์ ไชยพลฤทธิ์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ธนิต เฉลิมยานนท์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานคริทร์
  • ธนันท์ ชุบอุปการ ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานคริทร์
คำสำคัญ: ชั้นกันซึมดินเหนียวบดอัด, ค่าสัมประสิทธิ์การซึมผ่านของน้ำ, ค่ากำลังอัดแกนเดียว, ค่าการหดตัวเชิงปริมาตร

บทคัดย่อ

ในงานวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาการใช้วัสดุผสมจากดินเหนียวท้องถิ่นจังหวัดสงขลาและเถ้าลอยไม้ยางพาราสำหรับใช้เป็นชั้นกันซึมบ่อฝังกลบมูลฝอย งานวิจัยของ Benson และ Daniel (1990) แสดงให้เห็นว่า ช่วงของค่าคุณสมบัติที่เหมาะสมของชั้นกันซึม ประกอบด้วย ค่าสัมประสิทธ์การซึมผ่านของน้ำต้องมีค่าต่ำกว่า 1x10-7cm/s ค่ากำลังอัดแกนเดียวต้องไม่น้อยกว่า 200 kPa และค่าการหดตัวเชิงปริมาตรต้องต่ำกว่า 4% ในการศึกษาครั้งนี้ได้ใช้อัตราส่วนของดินเหนียวต่อเถ้าลอยของว้สดุผสมโดยน้ำหนักแห้งได้แก่ 100:0 และ 80:20 และมีการแปรผันระยะเวลาในการบ่มที่ 0, 7 และ 28 วัน จากผลการศึกษาพบว่า ดินเหนียวอย่างเดียว (อัตราส่วน 100:0) ถึงแม้ว่าจากอัตราส่วนนี้มีค่าสัมประสิทธ์การซึมผ่านของน้ำต่ำกว่า 1x10-7cm/s แต่ก็ยังไม่เหมาะสมในการนำไปใช้เป็นชั้นกันซึมเนื่องจากมีค่ากำลังอัดแกนเดียวไม่เกิน 200 kPa และค่าการหดตัวเชิงปริมาตรมากกว่า 4% อย่างไรก็ตาม สำหรับวัสดุผสมในอัตราส่วน 80:20 ที่ระยะเวลาการบ่ม 28 วัน ผลการทดสอบทำให้ค่าทุกคุณสมบัติผ่านเกณฑ์ที่เหมาะสมตามที่กำหนดไว้ ดังนั้น วัสดุผสมในอัตราส่วน 80:20 จึงเป็นอัตราส่วนที่เหมาะสมในการใช้เป็นชั้นกันซึมของบ่อฝังกลบขยะมูลฝอย คำสำคัญ: ชั้นกันซึมดินเหนียวบดอัด, ค่าสัมประสิทธิ์การซึมผ่านของน้ำ, ค่ากำลังอัดแกนเดียว, ค่าการหดตัวเชิงปริมาตร

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2023-07-07