การศึกษาผลของดินที่ถูกรบกวนรอบแถบระบายน้ำตามแนวดิ่งต่อประสิทธิภาพการอัดตัวคายน้ำของ ดินเหนียวกรุงเทพฯ

  • ธนัท ทิพย์มณี ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาลัยสงขลานครินทร์
  • ธนันท์ ชุบอุปการ ภาควิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ธนิต เฉลิมยานนท์
คำสำคัญ: แถบระบายน้ำตามแนวดิ่ง, สุญญากาศ, การอัดตัวคายน้ำ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ต้องการศึกษาอิทธิพลของดินที่ถูกรบกวน (Smear Zone) จากการติดตั้งแถบระบายน้ำตามแนวดิ่ง ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการอัดตัวคายน้ำ (Consolidation) ที่เกิดขึ้น ระหว่างการปรับปรุงคุณภาพดินด้วยวิธีระบบสุญญากาศร่วมกับ PVD ของชั้นดินเหนียวกรุงเทพฯ โดยในการวิเคราะห์จะแบ่งขอบเขตของดินที่ถูกรบกวนรอบ PVD ออกเป็น 3 โซนหลัก 1).โซนที่ติดกับ PVD (Highly Disturbed Zone) 2).โซนที่ได้รับผลกระทบเล็กน้อย (Marginal Disturbance Zone) และ 3).โซนที่ไม่ได้รับผลกระทบ (Insignificant Disturbance Zone) [8] ในแต่ละโซนจะมีค่าของความสามารถในการซึมผ่านของน้ำในมวลดินที่แตกต่างกัน และให้ค่าลดลงเป็นเชิงเส้นเข้าหา PVD [11] โดยจะกำหนดขอบเขตการทดลอง ที่จะศึกษาพารามิเตอร์ทั้งหมด 3 ตัวดังนี้ 1) ค่าอัตราส่วนระหว่างระยะของดินที่ถูกรบกวน (Smear zone) กับ ขนาดของ mandrel (Extent Ration), ds/dm อยู่ระหว่าง 2 ถึง 5เท่า 2) ค่าอัตรส่วนของความสามารถซึมผ่าน (Permeability Ratio) บริเวณดินที่ถูกรบกวน (Smear Zone) กับบริเวณดินที่ไม่ถูกรบกวน (Undisturbed Zone), kh/ks อยู่ระหว่าง 2 ถึง 6 เท่า และ3) แบ่งจำนวนของพื้นที่ที่ถูกรบกวน(Smear Zone) ออกเป็น 2 ถึง 5 โซน [11] โดยการวิเคราะห์เพื่อเปรียบเทียบค่าการทรุดตัวและแรงดันน้ำส่วนเกินที่เกิดขึ้นของแต่ละเคสตัวอย่าง จะใช้วิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ โปรแกรม Plaxis 2D ผลจากการศึกษาการพิจารณาผลของพื้นที่ที่ถูกรบกวน (Smear zone) จากการติดตั้งแถบระบายน้ำตามแนวดิ่ง (PVD) พบว่าค่าของ kh/ks มีผลต่ออัตราการทรุดตัวมากสุดเมื่อเทียบค่าการทรุดตัวสุดท้ายที่ระยะเวลาที่กำหนด มีค่าผลต่างมากสุดประมาณ 35 เปอร์เซ็นต์ ส่วนผลกระทบของค่า ds/dm มีผลต่ออัตราการทรุดตัวเมื่อเทียบค่าการทรุดตัวสุดท้ายที่ระยะเวลากำหนด มีค่าผลต่างมากสุดที่ประมาณ 13 เปอร์เซ็นต์ และผลกระทบของการแบ่งจำนวนขอบเขตของดินที่ถูกรบกวนรอบ PVD ,n หากไม่สนใจผลของดินที่ถูกรบกวน (Smear Zone) พบว่าให้ค่าการทรุดตัวมากกว่าประมาณ 18.5 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2023-07-06

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้