การประเมินความยั่งยืนในมิติด้านธรรมาภิบาลของการปลูกและอุตสาหกรรมยางพาราของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • พงษ์ศักดิ์ สุทธินนท์ ภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อุ่นเรือน เล็กน้อย

คำสำคัญ:

การประเมินความยั่งยืน, ธรรมาภิบาล, ยางพารา

บทคัดย่อ

การลงทุนอย่างยั่งยืนและมีความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นแนวคิดที่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง ปัจจุบันทั่วโลกได้มีการนำเงินไปลงทุนในบริษัทที่มีการดำเนินงานด้านสิ่งเเวดล้อม สังคม และ บรรษัทภิบาล (ESG) โดยการขยายตัวของความต้องการที่จะลงทุนในบริษัทที่มีแนวทางดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนเพิ่มสูงถึงกว่า 10 เท่า นอกจากนี้ SET พัฒนาดัชนีชี้วัดด้านความยั่งยืน หรือ ที่เรียกกันว่า Sustainability Index วัดการบริหารงานอย่างมีหลักบรรษัทภิบาล พร้อมกับการสร้างผลประกอบการที่ดีในทางเศรษฐกิจ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่สำคัญ คือ การพัฒนาอย่างยั่งยืน สำหรับระบบเกษตรกรรม การประเมินความยั่งยืนของระบบการเกษตรกรรมและอาหารในมิติธรรมาภิบาลภายใต้มาตรฐานขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมยางพาราของประเทศไทยในโครงการนี้ประกอบด้วย 5 ส่วนหลัก (1) ส่วนที่ 1 การประเมินจริยธรรมในองค์กร (2) ส่วนที่ 2 จิตสำนึกความรับผิดชอบ (3) ส่วนที่ 3 การมีส่วนร่วม (4) ส่วนที่ 4 หลักนิติธรรม (5) ส่วนที่ 5 การบริหารจัดการแบบองค์รวม ผลการประเมินประเมินความยั่งยืนของระบบการเกษตรกรรมในมิติธรรมาภิบาลของอุตสาหกรรมยางพาราของประเทศไทยพบว่า ประเทศไทยมีคะแนนระดับดีระดับ 4.0 จากคะแนนเต็ม 5 สาเหตุเนื่องมาจาก โรงงานมีข้อบังคับตามระเบียบและกฎหมายเป็นพื้นฐานในการดำเนินงาน ทำให้มีการดำเนินงานตามมาตรฐาน แต่เมื่อประเมินภายใต้ประเด็นขนาดของกลุ่มโรงงานหรือองค์กร ได้แก่ (1) กลุ่มโรงงานหรือองค์กร ที่มีขนาดใหญ่ และ (2) กลุ่มขนาดกลางและเล็ก พบว่า มีคะแนนต่างกันถึงประมาณ 20 % (คะแนน 4.4 และ 3.7 ตามลำดับ) สัดส่วนดังกล่าวแสดงถึงช่องว่างความพร้อมของการดำเนินงานความยั่งยืนด้านธรรมาภิบาลของประเทศไทย

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-09

วิธีการอ้างอิง

สุทธินนท์ พ., & เล็กน้อย อ. (2023). การประเมินความยั่งยืนในมิติด้านธรรมาภิบาลของการปลูกและอุตสาหกรรมยางพาราของประเทศไทย . การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, ENV05–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2143

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##