การศึกษาเชิงเปรียบเทียบการประเมินความยั่งยืนในมิติด้านธรรมาภิบาลของการทำเกษตร กรณีศึกษาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และเกษตรผสมผสาน ในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่

  • พงษ์ศักดิ์ สุทธินนท์ ภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คำสำคัญ: การประเมินความยั่งยืน, ธรรมาภิบาล, ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์, เกษตรผสมผสาน, อำเภอแม่แจ่ม, จังหวัดเชียงใหม่

บทคัดย่อ

ปัจจุบัน ประเทศไทยมียุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนและการรายงานสถานภาพความยั่งยืน เช่น เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนหรือ SDGs ในการดำเนินงานด้านธุรกิจนั้น มีความต้องการที่สูงขึ้นในด้านเครื่องมือที่จะสนับสนุนกระบวนการตัดสินใจ ในภาคเหนือของประเทศไทยนั้นการทำลายป่าเพื่อปลูกพืชเกษตรเป็นการผลิตและบริโภคที่ไม่ยั่งยืนส่งผลต่อการกีดกันทางค้าและกำแพงภาษีในห่วงโซ่อุปทานปศุสัตว์ของโลก ระบบการประเมินความยั่งยืนในมิติด้านธรรมาภิบาลของการทำเกษตร หรือ Sustainability Assessment of Food and Agriculture systems (SAFA) คือกรอบในการประเมินความยั่งยืนในตลอดห่วงโซ่ของเกษตรและอาหาร ซึ่งถูกนำเสนอโดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือ Food and Agriculture Organization of the United Nations (FAO) ในบทความนี้ระบบ SAFA ถูกใช้ในการประเมินด้านธรรมาภิบาลจาก 4 มิติ ได้แก่ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม และธรรมาภิบาล ในกรณีศึกษาเปรียบเทียบระหว่างข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และเกษตรผสมผสาน ในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ผลการศึกษาพบว่า ระดับความยั่งยืนในมิติด้านธรรมาภิบาลของการทำเกษตรกรณีศึกษาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และเกษตรผสมผสาน ในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ขึ้นอยู่กับความพร้อมขององค์กรเป็นหลัก โดยองค์กรขนาดใหญ่จะมีการดำเนินการด้านเอกสารและระบบที่ชัดเจนทำให้ผลการประเมินมีค่าสูง แต่องค์กรขนาดเล็กไม่มีการดำเนินงานข้างต้นเนื่องจากต้องการองค์ความรู้และค่าใช้จ่าย ข้อเสนอแนะที่สำคัญคือการที่หน่วยงานกลางสนับสนุนองค์ความรู้และเครื่องมือเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานความยั่งยืนในมิติด้านธรรมาภิบาลของการทำเกษตร

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2023-07-09

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้