การปรับการบริหารจัดการน้ำด้วยข้อมูลและเทคนิคสมัยใหม่ จากงานวิจัยเชิงปฏิบัติการสู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย

  • ภวิสร ชื่นชุ่ม ภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย https://orcid.org/0000-0003-1557-0893
  • พงษ์ศักดิ์ สุทธินนท์ ภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สุจริต คูณธนกุลวงศ์ ภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คำสำคัญ: การบริหารจัดการน้ำ, ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ, โครงการวิจัยเข็มมุ่งด้านสังคม การบริหารจัดการน้ำปีที่ 2

บทคัดย่อ

ตามที่ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนแม่บทยุทธศาสตร์การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม (พ.ศ. 2561 – 2580) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ให้ความสำคัญกับทรัพยากรน้ำที่เป็นปัจจัยการผลิตเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ จากความสำคัญดังกล่าว “โครงการวิจัยเข็มมุ่งด้านสังคม การบริหารจัดการน้ำปีที่ 2” จึงถือกำเนิดขึ้น เพื่อให้เกิดการสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมให้ประเทศมีทรัพยากรน้ำทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพที่สามารถรองรับการเติบโตในอนาคตด้วยการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน โดยแผนงานวิจัยปีที่ 2 มุ่งเน้นการบริหารจัดการน้ำที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้เกิดการประหยัดน้ำโดยเฉพาะในหน้าฝน และเพิ่มน้ำต้นทุนสำหรับหน้าแล้งปีต่อไปโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้าช่วย ตลอดจนการพัฒนาและประเมินความสามารถของกลุ่มผู้ใช้น้ำเพื่อให้สามารถจัดกลุ่ม เก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล จัดทำแผน และดำเนินการโครงการนำร่อง เพื่อให้การวางแผนการใช้และรับน้ำได้เอง และร่วมกับหน่วยงานได้ดียิ่งขึ้น งานวิจัยนี้จะช่วยให้เห็นการนำวิชาการและงานวิจัยมาประยุกต์ใช้ในการวางแผนและการดำเนินงานในโครงการด้านน้ำ และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อการวางแผนทรัพยากรน้ำ การบริหารเขื่อนและโครงการชลประทาน และการพัฒนากลุ่มผู้ใช้น้ำ ให้มีการใช้น้ำอย่างประหยัดและคุ้มค่า ตามเป้าหมายในแผนแม่บทของยุทธศาสตร์ชาติต่อไป

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2023-07-09

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้