ผลกระทบจากการเบนแนวทางดิ่งต่อความเร็วรถ: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ธนวิชญ์ เลิศพรประสพโชค ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ศ. ดร. วิชุดา เสถียรนาม ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ศ. ดร. ธเนศ เสถียรนาม ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

มาตราการสยบการจราจร, เนินชะลอความเร็ว, เนินราบชะลอความเร็ว, จักรยานยนต์

บทคัดย่อ

การเบนแนวทางดิ่งเป็นเทคนิคการสยบการจราจรที่ใช้กันอย่างแพร่หลายเพื่อควบคุมความเร็วรถ การติดตั้งเนินเปลี่ยนระดับถนน ซึ่งผู้ขับขี่จะปรับความเร็วเพื่อรักษาระดับความสบายขณะเคลื่อนผ่าน มาตรการนี้พัฒนาขึ้นในบริบทถนน สภาพการจราจรและพฤติกรรมของผู้ขับขี่ในประเทศที่พัฒนาแล้ว จึงมีข้อกังขาต่อประสิทธิภาพเมื่อถูกนำมาใช้ควบคุมความเร็วรถในเขตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ดังนั้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลกระทบของการเบนแนวทางดิ่งต่อความเร็วรถและ 2) ระบุปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับการลดความเร็วของผู้ขับขี่ การศึกษานี้ใช้อากาศยานไร้คนขับบันทึกพฤติกรรมของผู้ขับขี่บริเวณเนินชะลอความเร็ว 3 แห่ง และเนินราบชะลอความเร็ว 6 แห่ง เนินมีขนาดที่หลากหลาย กว้าง 4 ถึง 14 เมตร สูง 5 ถึง 14 เซนติเมตร และชัน 1:43 ถึง 1:20 การศึกษาสังเกตความเร็วรถยนต์ 1,068 คัน และรถจักรยานยนต์ 840 คัน ทุกระยะ 10 เมตรในช่วง 50 เมตรก่อนและหลังเนิน สร้างกราฟหน้าตัดความเร็วและระบุปัจจัยที่ส่งอิทธิพลต่อการลดความเร็วด้วยเทคนิคการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้น ผลการศึกษาพบว่ารถเคลื่อนผ่านเนินด้วยความเร็วเฉลี่ย 25-37 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความเร็วที่ 85 เปอร์เซ็นต์ไทล์ 29-44 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เมื่อเทียบกับความเร็วที่ใช้บนถนนช่วงก่อนหน้า ความเร็วของรถยนต์และรถจักรยานยนต์ลดลง 18-46 % และ 12-34 % ตามลำดับ เนินสามารถควบคุมความเร็วรถในช่วง 20-30 เมตรก่อนและหลังตำแหน่งติดตั้ง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับการลดความเร็วได้แก่ ความเร็วขณะสัญจรบนช่วงถนนก่อนหน้า รูปทรงของอุปกรณ์ และประเภทรถ โดยเนินส่งผลกระทบต่อรถยนต์มากกว่ารถจักรยานยนต์

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-08

วิธีการอ้างอิง

เลิศพรประสพโชค ธ., เสถียรนาม ว. ., & เสถียรนาม ธ. (2023). ผลกระทบจากการเบนแนวทางดิ่งต่อความเร็วรถ: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น . การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, TRL26–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2102

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##