ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรุนแรงในการเกิดอุบัติเหตุย้อนศรบนทางหลวงของประเทศไทย

  • ศิรวิทย์ ชาวระ ภาควิชวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ธเนศ เสถียรนาม ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • วิชุดา เสถียรนาม ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ชัยวุฒิ กาญจนะสันติสุข
คำสำคัญ: อุบัติเหตุย้อนศร, ความรุนแรงจากการชน, แบบจำลองโลจิสติก

บทคัดย่อ

การการขับขี่ยานพาหนะย้อนศรเป็นพฤติกรรมการขับขี่ที่ผิดกฎจราจรและเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ โดยเมื่อเกิดอุบัติเหตุจากการย้อนศรขึ้นจะมีแนวโน้มความรุนแรงของการบาดเจ็บและอัตราการเสียชีวิตที่สูง ซึ่งสามารถพบการขับขี่ย้อนศรได้ทั่วไปบนทางหลวงของประเทศไทย ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นบนถนนที่มีการแบ่งทิศทางการจราจร งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรุนแรงในการเกิดอุบัติเหตุย้อนศรบนทางหลวงของประเทศไทย เพื่อเสนอแนวทางในการลดความรุนแรงของอุบัติเหตุย้อนศรบนทางหลวงของประเทศไทย งานวิจัยนี้วิเคราะห์อุบัติเหตุย้อนศรบนโครงข่ายถนนทางหลวงของประเทศไทยย้อนหลัง 10 ปี ระหว่างปี 2556-2565 ของกรมทางหลวง เพื่อค้นหาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรุนแรงของอุบัติเหตุย้อนศร ด้วยการวิเคราะห์หลักสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) และ ใช้แบบจำลองสมการถดถอยโลจิสติคประเภทไบนารี่ (Binary logistic regression) ปัจจัยที่ศึกษาแบ่งได้เป็น 4 ลักษณะ ได้แก่ วันและช่วงเวลาในการเกิดอุบัติเหตุ, ลักษณะกายภาพของถนน, ลักษณะสิ่งแวดล้อม และลักษณะอุบัติเหตุ โดยกำหนดความรุนแรงของอุบัติเหตุของรถย้อนศรออกเป็น 2 ประเภท คือ การเสียชีวิต และการบาดเจ็บ ผลการวิเคราะห์พบว่า ปัจจัยที่มีนัยสำคัญต่อการเพิ่มโอกาสของการเสียชีวิตสูงของอุบัติเหตุย้อนศร ได้แก่ ช่วงเวลากลางคืน, ทางหลวงที่ไม่มีทางคู่ขนาน, การชนกันระหว่างรถจักรยานยนต์กับรถบรรทุกขนาดใหญ่ และการชนกันระหว่างรถจักรยานยนต์กับรถยนต์นั่งส่วนบุคคล สุดท้ายงานวิจัยนี้ยังได้เสนอแนวทางการลดความรุนแรงและการเสียชีวิตของอุบัติเหตุย้อนศรบนทางหลวงของประเทศไทย

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2023-07-08

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้