การพัฒนาระบบการตรวจวัดภัยดินถล่มด้วยระบบอินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง

  • วิชุดา จำเรือง ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อภินิติ โชติสังกาศ
  • สุสิทธิ์ ฉายประกายแก้ว
คำสำคัญ: ภัยดินถล่ม, อินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง, เครื่องมือวัดการเคลื่อนตัวของดิน, เกณฑ์การเตือนภัยดินถล่ม, ปริมาณน้ำฝนสะสม

บทคัดย่อ

บทความนี้ได้นำเสนอการพัฒนาระบบตรวจวัดภัยดินถล่มด้วยระบบอินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง (IoT) เป็นการพัฒนาเครื่องมือตรวจวัดทางธรณีเทคนิค ซึ่งนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ร่วมกับงานวิศวกรรมปฐพี ให้ทำงานร่วมกันด้วยการสื่อสารผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แสดงผลบนแพลตฟอร์มอินเตอร์เน็ต เพื่อตรวจวัดและนำไปสู่การพัฒนาเกณฑ์เตือนภัยดินถล่มที่เหมาะสม โดยติดตามปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของมวลดิน มีการศึกษาอัตราการเคลื่อนตัวของดินบริเวณเชิงลาดที่มีแนวโน้มส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมเดิม จากผลการใช้งานระบบดังกล่าวในพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม ณ บ้านน้ำจูน จังหวัดน่าน พบว่ามีการเคลื่อนตัวของดินระดับตื้น (0.5-1.0 ม.) ประมาณ 30 มม. ที่ปริมาณน้ำฝนสะสม 600 มม. ในช่วงเวลา 3 เดือน อัตราการเคลื่อนตัวของมวลดินมีค่าเท่ากับ 0.015 มม./ชม. การเคลื่อนตัวของมวลดินเกิดขึ้นอย่างช้าๆ เรียกว่า การคืบคลานของดิน (Soil Creep) มีค่าเเรงดูดของดิน (Suction) อยู่ในช่วง 0 – 7 กิโลปาสคาล ซึ่งเป็นดินที่อยู่ในสภาวะไม่อิ่มตัวด้วยน้ำ (Unsaturated Zone) การบันทึกค่าเหล่านี้ถูกเก็บโดยระบบ IoT ที่ประกอบด้วย Arduino MEGA 2560 และ  NB IoT เป็นตัวกลางที่ทำให้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆ สามารถเชื่อมต่อและส่งข้อมูลถึงกันได้

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2022-09-20

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้

1 2 > >>