การสำรวจประสิทธิภาพการซ่อมแซมตัวอย่างมอร์ตาร์ที่ถูกทำให้เสียหายล่วงหน้าด้วยเซลล์ที่มีชีวิตของแบคทีเรียที่ชักนำให้เกิดการตกตะกอนของแคลเซียมคาร์บอเนต

ผู้แต่ง

  • นัชชา นพคุณ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พรเพ็ญ ลิมปนิลชาติ ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ภัทรพล จินดาศิริพันธ์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พิชชา จองวิวัฒสกุล ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วิบูลย์ลักษณ์ พึ่งรัศมี ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สุเชษฐ์ ลิขิตเลอสรวง ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางวิศวกรรมธรณีเทคนิคและธรณีสิ่งแวดล้อม ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

เซลล์ที่มีชีวิตของแบคทีเรีย, เอ็มไอซีพี, รอยร้าว, การซ่อมแซมรอยร้าว

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการซ่อมแซมรอยร้าวของมอร์ตาร์โดยใช้วิธีการหยดเซลล์ที่มีชีวิตของแบคทีเรีย เตรียมตัวอย่างมอร์ตาร์ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 100 มม. สูง 50 มม. สร้างรอยร้าวด้วยแรงกด ให้มีขนาดความกว้างสองขนาดคือ ขนาดไม่เกิน 175 µm และขนาด 175 - 350µm จากนั้นซ่อมแซมรอยร้าวด้วยการหยดแบคทีเรียชนิดบาซิลลัส สฟีรีคัส และสารอาหาร โดยปริมาณการหยดเชื้อแบคทีเรียต่อสารอาหารต่อวันเท่ากับ20:500 µL และ 40:1000 µL ในระหว่างการซ่อมแซมชิ้นตัวอย่างจะอยู่ภายใต้สภาวะเปียกสลับแห้ง 7 รอบ หลังจากนั้นทำการประเมินประสิทธิภาพการซ่อมแซมรอยร้าวด้วยการวัดความกว้างของรอยร้าวผ่านกล้องจุลทรรศน์ จากผลการทดสอบรอยร้าวขนาดเล็กกว่า 175 µm ที่หยดเชื้อแบคทีเรียต่อสารอาหารต่อวันเท่ากับ 20:500 µL และ 40:1000 µL มีค่าความกว้างของรอยร้าวที่เปลี่ยนแปลง 90.1% และ 97.0% ตามลำดับ สำหรับรอยร้าวขนาดความกว้างไม่เกิน 350 µm มีค่าความกว้างของรอยร้าวที่เปลี่ยนแปลง 54.0% นอกจากนี้เมื่อติดตามค่าความกว้างของรอยร้าวที่เปลี่ยนแปลงในแต่ละรอบของทุกกลุ่มตัวอย่าง พบว่ารอยร้าวได้รับการซ่อมแซมอย่างต่อเนื่องจนครบ 7 รอบ และมีแนวโน้มว่าอาจจะพัฒนาต่อไปได้ หากใช้เวลาในการซ่อมแซมที่มากขึ้น

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ประวัติผู้แต่ง

พรเพ็ญ ลิมปนิลชาติ, ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ภัทรพล จินดาศิริพันธ์, ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พิชชา จองวิวัฒสกุล, ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จ.กรุงเทพฯ

วิบูลย์ลักษณ์ พึ่งรัศมี, ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สุเชษฐ์ ลิขิตเลอสรวง, ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางวิศวกรรมธรณีเทคนิคและธรณีสิ่งแวดล้อม ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางวิศวกรรมธรณีเทคนิคและธรณีสิ่งแวดล้อม ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-05

วิธีการอ้างอิง

[1]
นพคุณ น., ลิมปนิลชาติ พ., จินดาศิริพันธ์ ภ., จองวิวัฒสกุล พ., พึ่งรัศมี ว., และ ลิขิตเลอสรวง ส., “การสำรวจประสิทธิภาพการซ่อมแซมตัวอย่างมอร์ตาร์ที่ถูกทำให้เสียหายล่วงหน้าด้วยเซลล์ที่มีชีวิตของแบคทีเรียที่ชักนำให้เกิดการตกตะกอนของแคลเซียมคาร์บอเนต”, ncce27, ปี 27, น. MAT28–1, ก.ย. 2022.

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##