ประสิทธิภาพของระบบพื้นพลาสติกกลวงในโครงสร้างพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก รับแรงสองทางแบบมีคานรองรับ

  • เจตนิพัทธ์ พรชยานนท์
  • นักษา กาญจนคีรีรัตน์
  • เอื้ออังกูร พุทธัง
  • ธัชวีร์ ลีละวัฒน์
  • พรเพ็ญ ลิมปนิลชาติ ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งเเวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล
คำสำคัญ: ระบบแผ่นพื้นพลาสติกกลวง, ระบบแผ่นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กแบบมีคานรองรับสองทิศทาง, ความยาวช่วงเสา, น้ำหนักบรรทุกโครงสร้าง, ความหนาแผ่นพื้น

บทคัดย่อ

การลดน้ำหนักของโครงสร้างอาคารถือเป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งที่ช่วยลดต้นทุนการก่อสร้าง ปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยีมากมายเพื่อตอบโจทย์การลดน้ำหนักของโครงสร้าง หนึ่งในนั้นคือระบบแผ่นพื้นพลาสติกกลวง ซึ่งเมื่อถูกนำไปใช้งานในโครงสร้างอาคาร จะส่งผลให้สามารถลดขนาดส่วนประกอบโครงสร้างให้มีขนาดที่เล็กลง เช่น เสา คาน รวมถึงความสามารถในการลดจำนวนเสาและเสาเข็มได้อีกด้วย ทำให้มีพื้นที่ที่สามารถใช้งานได้เพิ่มมากขึ้น โดยทั่วไปแผ่นพื้นพลาสติกกลวงถูกใช้งานอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการใช้งานร่วมกับระบบแผ่นพื้นไร้คาน แต่อย่างไรก็ตามระบบแผ่นพื้นพลาสติกกลวงที่ใช้งานร่วมกับระบบพื้นแบบมีคานรับสองทางยังไม่เป็นที่นิยมเท่าที่ควร ในการศึกษานี้จึงได้มุ่งเน้นศึกษาประสิทธิภาพของแผ่นพลาสติกกลวงแบบมีคานรองรับสองทิศทาง เมื่อเทียบกับโครงสร้างพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก ทั่วไป โดยขั้นตอนการศึกษาแบ่งเป็นการเปรียบเทียบ ความหนา น้ำหนักบรรทุกคงที่ อัตราส่วนของน้ำหนักบรรทุกคงที่ที่ลดลงของแผ่นพื้น ที่มีการเปลี่ยนแปลงขนาดตั้งแต่ 4 ถึง 10 เมตร โดยจากการศึกษาพบว่าแผ่นพลาสติกกลวงเริ่มมีประสิทธิภาพต่อการลดน้ำหนักโครงสร้างเมื่อมีขนาด 7.5 เมตร เป็นต้นไป จากนั้นทำการออกแบบโครงสร้างอาคาร 3 ชั้น ขนาด 6 × 8 เมตร ที่มีการใช้งานแผ่นพื้นทั้ง 2 ระบบ พบว่าการใช้แผ่นพลาสติกกลวง มีประสิทธิภาพช่วยลดน้ำหนักโครงสร้างได้บางส่วน ส่งผลต่อการน้ำหนักโครงสร้างที่ถ่ายลงฐานรากได้ 6 เปอร์เซ็นต์เมื่อเปรียบเทียบกับโครงสร้างที่ออกแบบด้วยแผ่นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กทั่วไป

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2022-09-20
How to Cite
[1]
พรชยานนท์เ., กาญจนคีรีรัตน์น., พุทธังเ., ลีละวัฒน์ธ., และ ลิมปนิลชาติพ., “ประสิทธิภาพของระบบพื้นพลาสติกกลวงในโครงสร้างพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก รับแรงสองทางแบบมีคานรองรับ”, ncce27, ปี 27, น. STR49-1, ก.ย. 2022.
สาขาของบทความ
วิศวกรรมโครงสร้าง

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้