การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของระบบพื้นไร้คานท้องเรียบแบบกลวง และพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กไร้คานท้องเรียบ

  • กรวิชญ์ หงส์ธารารักษ์
  • ปกรณ์ธรรม นันทวิสิทธิ์
  • ธีชวีร์ ลีละวัฒน์
  • พรเพ็ญ ลิมปนิลชาติ ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งเเวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล
คำสำคัญ: พื้นคอนกรีตเสริมเหล็กไร้คานท้องเรียบ, พื้นไร้คานท้องเรียบแบบกลวง, ความยาวช่วงเสา, น้ำหนักบรรทุกโครงสร้าง, ความหนาแผ่นพื้น

บทคัดย่อ

พื้นไร้คานท้องเรียบแบบกลวงคือโครงสร้างพื้นไร้คานที่มีการนำบอลพลาสติกมาแทนที่คอนกรีตบางส่วนของโครงสร้างพื้น โดยเมื่อนำมาประยุกต์ใช้ในองค์อาคารพาณิชย์ขนาดกลาง ส่งผลให้สามารถลดน้ำหนักบรรทุกคงที่ที่กระทำต่อชิ้นส่วนโคงรสร้างอื่นเช่น เสา และโครงสร้างฐานรากได้ ซึ่งส่งผลดีต่อการควบคุมงบประมาณการก่อสร้าง แต่อย่างไรก็ตามพื้นไร้คานประเภทนี้ยังไม่เป็นที่แพร่หลายในประเทศมากนัก งานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นศึกษาเพื่อให้เห็นถึงประสิทธิภาพของพื้นไร้คานท้องเรียบแบบกลวงเมื่อเทียบกับพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กไร้คานทั่วไป ผ่านการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของพื้นทั้งสองประเภทข้างต้นในด้านความหนา น้ำหนัก และเปอร์เซ็นต์การลดลงของน้ำหนักบรรทุก เมื่อแผ่นพื้นมีขนาดตั้งแต่ 6 m ถึง 12 m นอกจากนี้จากผลการออกแบบพื้นไร้คานท้องเรียบแบบกลวง และพื้นไร้คานท้องเรียบทั่วไปในองค์อาคาร 5 ชั้น มีขนาดความยาวช่วงเสา 9 m ทำให้ทราบว่าระบบพื้นไร้คานท้องเรียบแบบกลวงสามารลดน้ำหนักโดยรวมขององค์อาคารลงได้เป็นผลมาจากการใช้บอลพลาสติกแทนที่คอนกรีตบางส่วน ซึ่งทำให้ขนาดของเสาและจำนวนของเสาเข็มลดลงตามไปด้วย จากผลการวิเคราะห์จะเห็นได้ว่าอาคารที่ใช้พื้นไร้คานท้องเรียบแบบกลวงสามารถลดน้ำหนักที่ถ่ายลงฐานรากได้ถึง 16 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับระบบพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กไร้คานท้องเรียบทั่วไป

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2022-09-19
How to Cite
[1]
หงส์ธารารักษ์ก., นันทวิสิทธิ์ป., ลีละวัฒน์ธ., และ ลิมปนิลชาติพ., “การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของระบบพื้นไร้คานท้องเรียบแบบกลวง และพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กไร้คานท้องเรียบ”, ncce27, ปี 27, น. STR07-1, ก.ย. 2022.
สาขาของบทความ
วิศวกรรมโครงสร้าง

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้