ผลกระทบของการตกตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนต (MICP) ต่อคุณสมบัติของอิฐและปูนประวัติศาสตร์ในโบราณสถาน

ผู้แต่ง

  • ชิษณุพงศ์ ทองหนู ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • พรเกษม จงประดิษฐ์
  • ชนา พุทธนานนท์
  • ดนัย เผ่าหฤหรรษ์
  • ปิยะฉัตร ฉัตรตันใจ

คำสำคัญ:

อิฐโบราณ, มอร์ตา, การตกตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนต (MICP), Lysinibacillus, SEM (Scanning Electron Microscope)

บทคัดย่อ

โบราณสถานทั้งหมดล้วนตั้งอยู่ในที่โล่งแจ้งโดยไม่มีการปกป้องทำให้ต้องเผชิญกับการเสื่อมสภาพส่งผลต่อคุณสมบัติของวัสดุ และความเสถียรของโครงสร้าง ซึ่งอาจนำไปสู่การพังทลายของโครงสร้างได้ในที่สุด งานวิจัยนี้ศึกษาการปรับปรุงคุณสมบัติของวัสดุของโบราณสถานที่ประกอบด้วยอิฐและมอร์ตาร์โดยการใช้แบคทีเรียที่มีความสามารถในการผลิตแคลเซียมคาร์บอเนตจากการย่อยสลายยูเรีย หรือที่เรียกว่าวิธีการตกตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนต (MICP) ทำให้เกิดการเชื่อมประสานในรอยแตกหรืออุดรูพรุนที่ผิวขององค์ประกอบของโครงสร้าง ที่จะทำให้วัสดุโบราณมีคุณสมบัติทางวิศวกรรมดีขึ้น วิธีปรับปรุงคุณสมบัตินี้สอดคล้องกับข้อกำหนดของกรมศิลปากรที่ไม่อนุญาติให้มีแรงสั่นสะเทือนที่รอบบริเวณพื้นที่ของโบราณสถาน งานวิจัยนี้ใช้วัสดุอิฐทดแทนที่มาจากโรงงานในอยุธยาและมอร์ตาร์จากคำแนะนำของกรมศิลปากร ในส่วนของเชื้อแบคทีเรียจะใช้ Lysinibacillus ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่มีศักยภาพสูงในการผลิตแคลเซียมตาร์บอเนตจากการย่อยสลายยูเรีย วิธีการปรับปรุงวัสดุทดแทนของโครงสร้างโบราณทั้งอิฐและมอร์ตาร์ให้มีคุณสมบัติที่ดีขึ้นโดยการขังแบคทีเรีย Lysinibacillus ในห้องปฎิบัติการเป็นเวลา 14, 21, 28 วัน จากการวิเคราะห์โดย SEM (Scanning Electron Microscope) พบว่ารอยแตกและรูพรุนที่ผิวของวัสดุทดแทนของโครงสร้างโบราณมีการเติมเต็มผลการทดสอบคุณสมบัติทางวิศวกรรมระบุว่าค่ากำลังอัดเพิ่มขึ้นอีกด้วย

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-20

วิธีการอ้างอิง

[1]
ทองหนู ช., จงประดิษฐ์ พ. ., พุทธนานนท์ ช., เผ่าหฤหรรษ์ ด., และ ฉัตรตันใจ ป. ., “ผลกระทบของการตกตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนต (MICP) ต่อคุณสมบัติของอิฐและปูนประวัติศาสตร์ในโบราณสถาน”, ncce27, ปี 27, น. GTE31–1, ก.ย. 2022.

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##