ผลกระทบของการขุดอุโมงค์คู่ซ้อนกันในแนวดิ่งที่มีระยะห่างระหว่างหน้าการขุดต่อโครงสร้างข้างเคียง
คำสำคัญ:
อุโมงค์คู่ขนานซ้อนกันในแนวดิ่ง, ระยะห่างระหว่างหน้าหัวเจาะของการขุดอุโมงค์คู่ขนานแบบซ้อนทับกันในแนวดิ่ง, ผลกระทบต่อโครงสร้างเสาเข็มบทคัดย่อ
จากสภาพพื้นที่ที่จำกัดของเมืองใหญ่ ทำให้มีการก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินโดยเฉพาะอุโมงค์คู่ขนานแบบซ้อนทับกันในแนวดิ่งที่อาจถูกก่อสร้างใกล้เคียงกับโครงสร้างเสาเข็มที่มีอยู่เดิมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากนี้การก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินจำเป็นต้องก่อสร้างอย่างรวดเร็วเพื่อไม่ให้กระทบต่อการปิดการจราจร ดังนั้นจะเป็นการขุดที่ระยะห่างระหว่างหน้าหัวเจาะอยู่ใกล้กันมากขึ้น อย่างไรก็ตามในอดีตไม่ได้พิจารณาอิทธิพลเนื่องจากระยะห่างระหว่างหน้าหัวเจาะของการขุดอุโมงค์คู่ขนานแบบซ้อนทับกันในแนวดิ่งต่อพฤติกรรมของเสาเข็มข้างเคียง การศึกษานี้วิเคราะห์วิธีทางไฟไนต์เอลิเมนต์แบบสามมิติของการขุดอุโมงค์คู่ขนานแบบซ้อนทับกันในแนวดิ่งที่มีระยะห่างระหว่างหน้าหัวเจาะที่แตกต่างกันได้แก่ 0Ls 1Ls 3Ls 5Ls และ 8Ls (Ls คือความยาวของหัวเจาะ) ต่อพฤติกรรมของเสาเข็มที่มีอยู่เดิม โดยงานวิจัยนี้ได้ใช้พารามิเตอร์ดินและสอบเทียบวิธีการจำลองอุโมงค์จากโครงการรถไฟฟ้าใต้ดินกรุงเทพสายสีน้ำเงิน จากผลการวิเคราะห์บ่งชี้ว่าระยะห่างระหว่างหน้าหัวเจาะที่แตกต่างกันของการขุดอุโมงค์คู่แบบซ้อนทับกันในแนวดิ่งส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการเสียรูปของดินและพฤติกรรมของเสาเข็มที่มีอยู่เดิม
##plugins.generic.usageStats.downloads##
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์