ผลกระทบของจุลินทรีย์ท้องถิ่นต่อกระบวนการเกิดการตกตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตในดิน
คำสำคัญ:
การตกตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตโดยจุลินทรีย์, การปรับปรุงคุณภาพดิน, จุลินทรีย์ท้องถิ่น, ทราย, ไลซินิบาซิลลัสสเฟียริคัสบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ศึกษาผลกระทบของจุลินทรีย์ท้องถิ่นต่อกระบวนการเกิดการตกตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตในดินโดยใช้จุลินทรีย์ที่มีศักยภาพในการผลิตเอนไซม์ยูรีเอส และเชื่อมประสานกันระหว่างอนุภาคของเม็ดดินทำให้ดินมีคุณสมบัติทางวิศวกรรมที่ดีขึ้น สำหรับวิธีการในการทดสอบจะนำดินตัวอย่าง 2 ชนิด ได้แก่ 1. .ดินท้องถิ่นที่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยวิธีการใช้ไอน้ำร้อนและแรงดันสูงในหม้อนึ่งความดันไอน้ำ (ออโต้เคลฟ) 2.ดินท้องถิ่น โดยนำตัวอย่างทั้งหมดมาผ่านกระบวนการตกตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนต เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นถึงอิทธิพลในการทำงานร่วมกันระหว่างจุลินทรีย์ท้องถิ่นกับจุลินทรีย์ที่ผลิตเอนไซม์ยูรีเอสต่อกระบวนการตกตะกอนแคลเซียมเซียมคาร์บอเนตในดิน โดยใช้จุลินทรีย์ Lysinibacillus sphaericus เปรียบเทียบ 2 สายพันธุ์ ได้แก่ EW-S2 และ LMG22257 มาขังในตัวอย่างดิน และทิ้งไว้เป็นเวลา 12 ชั่วโมงในแต่ละรอบ เป็นระยะเวลา 18 วัน หลังจากนั้นนำตัวอย่างดินมาตรวจสอบปริมาณแคลเซียมคาร์บอเนตที่เกิดขึ้นด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบส่องกราด (SEM) และวิเคราะห์หาปริมาณธาตุ Energy Dispersive X-ray (EDS) พร้อมกับกำลังและความสามารถในการซึมผ่าน ผลการทดสอบพบว่าจุลินทรีย์ท้องถิ่นส่งผลให้กระบวนการตกตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตในดินมีประสิทธิภาพที่ลดลง
##plugins.generic.usageStats.downloads##
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์