ผลกระทบของการตกตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตที่ถูกกระตุ้นด้วยจุลินทรีย์ (MICP) ต่อคุณสมบัติของอิฐและปูนในดินของแหล่งโบราณคดี
คำสำคัญ:
กระบวนการตกตะกอนของแคลเซียมคาร์บอเนตด้วยจุลิทรีย์, จุลินทรีย์ท้องถิ่น, วัสดุโบราณสถาน, การวิเคราะห์ปริมาณแร่ธาตุ, ความขรุขระของผิววัสดุบทคัดย่อ
ฐานรากโบราณสถานมักมีความเปราะบางและได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง การบูรณะฐานรากโบราณด้วยเทคนิคที่หลีกเลี่ยงแรงสั่นสะเทือนและการปนเปื้อนของสารเคมีจึงถูกนำมาพิจารณา อีกทั้งแต่ละโบราณสถานยังมีการดำรงอยู่ของจุลินทรีย์ท้องถิ่น การบูรณะโดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมเดิมจึงเป็นสิ่งจำเป็น งานวิจัยนี้ศึกษาศักยภาพการตกตะกอนของแคลเซียมคาร์บอเนตของอิฐและมอร์ตาร์โบราณด้วยจุลินทรีย์ Bacillus sphaericus LMG 22257 ร่วมกับจุลินทรีย์ท้องถิ่น วัสดุโบราณในงานวิจัยประกอบไปด้วยอิฐและมอร์ตาร์โบราณ สำหรับดินตัวอย่างเป็นดินใกล้โบราณสถานในจังหวัดลพบุรีที่ผ่านการฆ่าเชื้อและดินสภาพธรรมชาติ โดยทำการเปรียบเทียบปริมาณแคลเซียมคาร์บอเนตที่เกิดขึ้นจากจุลินทรีย์ Bacillus sphaericus LMG 22257 และจุลินทรีย์ท้องถิ่นด้วยระยะเวลาการตกตะกอน 18 วัน จากการทดสอบพื้นผิวของวัสดุด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน การทดสอบหาปริมาณแร่ธาตุที่เกิดขึ้นด้วยสเปกโทรเมตรีรังสีเอกซ์แบบกระจายพลังงานที่ใช้ร่วมกับกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด และความลึกของรูพรุนบนผิววัสดุด้วยเครื่องมือสแกนพื้นผิวสามมติ พบว่าพื้นผิวของวัสดุโบราณมีปริมาณแคลเซียมคาร์บอเนตเพิ่มขึ้นและส่วนหนึ่งได้เข้าไปเติมเต็มรูพรุนของวัสดุจนมีความลึกน้อยลง
##plugins.generic.usageStats.downloads##
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์