ผลกระทบของการขุดอุโมงค์คู่ซ้อนกันในแนวดิ่งที่มีระยะห่างระหว่างหน้าการขุดต่อโครงสร้างข้างเคียง

  • ณัฐวิช สิทธิอมรพร ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • สมเกียรติ เลิศกุลทานนท์
  • พรเกษม จงประดิษฐ์
  • ชณาภัทร แก้วพินิจ
  • ธนธัช เปรมศรี
  • มุกอันดา สุวัณณะสังข์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
คำสำคัญ: อุโมงค์คู่ขนานซ้อนกันในแนวดิ่ง, ระยะห่างระหว่างหน้าหัวเจาะของการขุดอุโมงค์คู่ขนานแบบซ้อนทับกันในแนวดิ่ง, ผลกระทบต่อโครงสร้างเสาเข็ม

บทคัดย่อ

จากสภาพพื้นที่ที่จำกัดของเมืองใหญ่ ทำให้มีการก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินโดยเฉพาะอุโมงค์คู่ขนานแบบซ้อนทับกันในแนวดิ่งที่อาจถูกก่อสร้างใกล้เคียงกับโครงสร้างเสาเข็มที่มีอยู่เดิมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากนี้การก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินจำเป็นต้องก่อสร้างอย่างรวดเร็วเพื่อไม่ให้กระทบต่อการปิดการจราจร ดังนั้นจะเป็นการขุดที่ระยะห่างระหว่างหน้าหัวเจาะอยู่ใกล้กันมากขึ้น อย่างไรก็ตามในอดีตไม่ได้พิจารณาอิทธิพลเนื่องจากระยะห่างระหว่างหน้าหัวเจาะของการขุดอุโมงค์คู่ขนานแบบซ้อนทับกันในแนวดิ่งต่อพฤติกรรมของเสาเข็มข้างเคียง การศึกษานี้วิเคราะห์วิธีทางไฟไนต์เอลิเมนต์แบบสามมิติของการขุดอุโมงค์คู่ขนานแบบซ้อนทับกันในแนวดิ่งที่มีระยะห่างระหว่างหน้าหัวเจาะที่แตกต่างกันได้แก่ 0Ls 1Ls 3Ls 5Ls และ 8Ls (Ls คือความยาวของหัวเจาะ) ต่อพฤติกรรมของเสาเข็มที่มีอยู่เดิม โดยงานวิจัยนี้ได้ใช้พารามิเตอร์ดินและสอบเทียบวิธีการจำลองอุโมงค์จากโครงการรถไฟฟ้าใต้ดินกรุงเทพสายสีน้ำเงิน จากผลการวิเคราะห์บ่งชี้ว่าระยะห่างระหว่างหน้าหัวเจาะที่แตกต่างกันของการขุดอุโมงค์คู่แบบซ้อนทับกันในแนวดิ่งส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการเสียรูปของดินและพฤติกรรมของเสาเข็มที่มีอยู่เดิม

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2022-09-20
How to Cite
[1]
สิทธิอมรพรณ., เลิศกุลทานนท์ส., จงประดิษฐ์พ., แก้วพินิจช., เปรมศรีธ., และ สุวัณณะสังข์ม., “ผลกระทบของการขุดอุโมงค์คู่ซ้อนกันในแนวดิ่งที่มีระยะห่างระหว่างหน้าการขุดต่อโครงสร้างข้างเคียง”, ncce27, ปี 27, น. GTE03-1, ก.ย. 2022.

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้

1 2 > >>