ดัชนีความเสียหายสำหรับจุดต่อชั้นวางสินค้าเหล็กภายใต้แรงสลับทิศ

  • คณิต อกนิษฐ์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • เอกชัย อยู่ประเสริฐชัย ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • วงศา วรารักษ์สัจจะ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • สุทัศน์ ลีลาทวีวัฒน ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ชัยณรงค์ อธิสกุล ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
คำสำคัญ: ดัชนีความเสียหาย, ชั้นวางสินค้า, แรงแผ่นดินไหว, Automatic Storage and Retrieval System, ASRS

บทคัดย่อ

ปัจจุบันมีการใช้งานชั้นวางสินค้าที่มีความสูงเป็นพิเศษเพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับระบบจัดเก็บสินค้าแบบอัตโนมัติ (Automatic Storage and Retrieval System, ASRS) การวิเคราะห์และประเมินกำลังชั้นวางสินค้าที่มีความสูงเป็นพิเศษเหล่านี้ จึงเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นโดยเฉพาะ การใช้งานในบริเวณที่อาจได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว บทความนี้นำเสนอการคำนวณหาดัชนีความเสียหาย (Damage Index) บริเวณจุดต่อโครงสร้างชั้นวางสินค้าเหล็ก เพื่อการประเมินความเสี่ยงภัยและระดับความเสียหายจากแรงแผ่นดินไหวหรือแรงกระทำด้านข้าง และเพื่อเป็นแนวทางการประเมินความสามารถในการใช้งานได้ของโครงสร้าง ในการศึกษาจะรวบรวมผลการทดสอบจุดต่อภายใต้แรงดัด ทั้งแบบแรงกระทำแบบทิศทางเดียว (Monotonic Loading) และแบบแรงสลับ
ทิศ (Cyclic Loading) จากงานวิจัยในอดีต จำนวนทั้งสิ้น 22 ตัวอย่าง จากนั้นจึงนำผลมาวิเคราะห์การเสียรูปที่จุดต่อ และการสลายพลังงานสะสม และนำมาคำนวณหาตัวประกอบ เพื่อประเมินความเสียหาย โดยใช้ดัชนีความเสียหายของ Park-Ang จากผลการศึกษาพบว่า ความสามารถในการเสียรูปและการสลายพลังงานบริเวณจุดต่อมีปัจจัยหลักมาจากขนาดความลึกคานและความหนาเสาเป็นหลัก และค่าคงที่ β ที่เหมาะสมมีค่าเท่ากับ 0.22 จากผลการศึกษาสามารถนำสมการสำหรับหาตัวประกอบเพื่อใช้ประเมินความเสียหายจุดต่อชั้นวางเหล็กเนื่องจากแรงแผ่นดินไหวได้

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2022-09-20
สาขาของบทความ
วิศวกรรมโครงสร้าง

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้