การวิเคราะห์เปรียบเทียบการออกแบบกำแพงกันดินคอนกรีตเสริมเหล็กและกำแพงกันดินเสริมแรงเพื่อรับแรงแผ่นดินไหว

ผู้แต่ง

  • วุฒิชัย ชาติพัฒนานันท์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ชัยณรงค์ อธิสกุล
  • สุทัศน์ ลีลาทวีวัฒน์

คำสำคัญ:

การออกแบบกำแพงกันดินรับแรงแผ่นดินไหว, กำแพงกันดินคอนกรีตคานยื่น, กำแพงกันดินเสริมแรง

บทคัดย่อ

บทความนี้แสดงการค านวณออกแบบก าแพงกันดินคอนกรีตคานยื่นและก าแพงกันดินเสริมแรงในส่วนของเสถียรภาพภายนอกเพื่อรับแรงแผ่นดินไหว ที่จำเป็นต้องพิจารณาในการออกแบบโดยเฉพาะในเขตพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันตะวันตกในประเทศไทย โดยที่ตัวอย่างการออกแบบดังกล่าวยังไม่ปรากฎแพร่หลายนัก โดยแสดงตัวอย่างการออกแบบกำแพงกันดินคอนกรีตคานยื่นและก าแพงกันดินเสริมแรงทั้งกรณีที่มีแรงแผ่นดินไหวโดยการใช้สมการM-O ในการประมาณแรงดันดินด้านข้างพลศาสตร์ แล้วทำการเปรียบเทียบการออกแบบกำแพงกันดินในกรณีที่ไม่มีแรงแผ่นดินไหวโดยใช้แรงดันดินด้านข้างสถิตย์ศาสตร์ โดยใช้ตัวอย่างกำแพงกันดินที่ความสูง 2.5 เมตร โดยออกแบบตามรูปแบบของการวิบัติ จากค่าความเร่งสูงสุดที่ 0.4g และค่าความเร่งผิวดินแนวราบที่ 0.12g โดยกำแพงกันดินคอนกรีตคานยื่นใช้ดินถมน้อยกว่า เนื่องจาก CCRW ใช้น้ำหนักของคอนกรีตช่วยในการรับแรง ขณะที่MSEW ใช้น้ำหนักดินเพียงอย่างเดียวในการรับแรง นอกจากนี้ กำแพงกันดินคอนกรีตคานยื่นและกำแพงกันดินเสริมแรงที่มีรูปทรงมวลดินเสริมแรงเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าคล้ายกัน มีความสามารถในการรับแรง โมเมนต์ และอัตราส่วนความปลอดภัยที่ต่างกันหากพิจารณาถึงผลของรูปทรง แรงเฉื่อยและมุมเสียดทานกำแพงที่ต่างกัน

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-20

วิธีการอ้างอิง

[1]
ชาติพัฒนานันท์ ว., อธิสกุล ช., และ ลีลาทวีวัฒน์ ส. ., “การวิเคราะห์เปรียบเทียบการออกแบบกำแพงกันดินคอนกรีตเสริมเหล็กและกำแพงกันดินเสริมแรงเพื่อรับแรงแผ่นดินไหว”, ncce27, ปี 27, น. STR14–1, ก.ย. 2022.

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##