การประยุกต์ใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคารเพื่อลดการใช้พลังงาน ด้วยการปรับปรุงกรอบอาคาร กรณีศึกษา: อาคารที่อยู่อาศัย

ผู้แต่ง

  • นันทพล มหาวัน สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จ.พะเยา
  • อภิชาต บัวกล้า
  • ฤทธิ์ทยุต ก้อนทอง
  • นพรัตน์ เกตุขาว

คำสำคัญ:

แบบจำลองสารสนเทศอาคาร, การใช้พลังงาน, ค่าภาระการทำความเย็น, วัสดุกรอบอาคาร

บทคัดย่อ

บทความนี้ศึกษาการประยุกต์ใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคาร เพื่อลดปริมาณการใช้พลังงานของอาคารในระบบปรับอากาศ ด้วยการวิเคราะห์หาการวิเคราะห์แนวทางปรับปรุงกรอบอาคารที่เหมาะสม กรณีศึกษาเป็นอาคารที่พักอาศัยจากแบบมาตรฐานของภาครัฐ โดยใช้โปรแกรม Autodesk Revit วิเคราะห์หาแนวทางการปรับปรุงวัสดุกรอบอาคารเพื่อลดการใช้พลังงานที่เหมาะสมและคุ้มค่าในการลงทุน ซึ่งพิจารณาจากค่าภาระการทำความเย็นในระบบปรับอากาศที่ลดลง และเงินลงทุนเพิ่มเติมในการปรับปรุงกรอบอาคารของแต่ละแนวทางเลือก ผลการศึกษา พบว่า  มีการปรับปรุง 4 แนวทางเลือก สามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าลงได้มากกว่า 40 % โดยใช้เงินลงทุนน้อยกว่า 100,000 บาท การปรับปรุงด้วยการเปลี่ยนชนิดกระจกเป็นกระจกสะท้อนแสงและติดตั้งฉนวนใยแก้ว 3 นิ้วในผนังทิศตะวันตก พร้อมทั้งติดตั้งฉนวนใยแก้ว 6 นิ้วบนฝ้าเพดานชั้นบนสุดทั้งหมด เป็นแนวทางการปรับปรุงกรอบอาคารที่ดีที่สุดสำหรับกรณีศึกษานี้ สามารถลดการใช้พลังงานใช้ไฟฟ้ารายปีลงได้ 44 % โดยใช้เงินลงทุนปรับปรุงประมาณ 47,000 บาท ระยะเวลาคืนทุน 0.78 ปี

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-19

วิธีการอ้างอิง

[1]
มหาวัน น., บัวกล้า อ., ก้อนทอง ฤ., และ เกตุขาว น., “การประยุกต์ใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคารเพื่อลดการใช้พลังงาน ด้วยการปรับปรุงกรอบอาคาร กรณีศึกษา: อาคารที่อยู่อาศัย”, ncce27, ปี 27, น. BIM05–1, ก.ย. 2022.

ฉบับ

บท

การประยุกต์ใช้ BIM สำหรับงานวิศวกรรมโยธา