การสำรวจประสิทธิภาพการซ่อมแซมตัวอย่างมอร์ตาร์ที่ถูกทำให้เสียหายล่วงหน้าด้วยเซลล์ที่มีชีวิตของแบคทีเรียที่ชักนำให้เกิดการตกตะกอนของแคลเซียมคาร์บอเนต
คำสำคัญ:
เซลล์ที่มีชีวิตของแบคทีเรีย, เอ็มไอซีพี, รอยร้าว, การซ่อมแซมรอยร้าวบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการซ่อมแซมรอยร้าวของมอร์ตาร์โดยใช้วิธีการหยดเซลล์ที่มีชีวิตของแบคทีเรีย เตรียมตัวอย่างมอร์ตาร์ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 100 มม. สูง 50 มม. สร้างรอยร้าวด้วยแรงกด ให้มีขนาดความกว้างสองขนาดคือ ขนาดไม่เกิน 175 µm และขนาด 175 - 350µm จากนั้นซ่อมแซมรอยร้าวด้วยการหยดแบคทีเรียชนิดบาซิลลัส สฟีรีคัส และสารอาหาร โดยปริมาณการหยดเชื้อแบคทีเรียต่อสารอาหารต่อวันเท่ากับ20:500 µL และ 40:1000 µL ในระหว่างการซ่อมแซมชิ้นตัวอย่างจะอยู่ภายใต้สภาวะเปียกสลับแห้ง 7 รอบ หลังจากนั้นทำการประเมินประสิทธิภาพการซ่อมแซมรอยร้าวด้วยการวัดความกว้างของรอยร้าวผ่านกล้องจุลทรรศน์ จากผลการทดสอบรอยร้าวขนาดเล็กกว่า 175 µm ที่หยดเชื้อแบคทีเรียต่อสารอาหารต่อวันเท่ากับ 20:500 µL และ 40:1000 µL มีค่าความกว้างของรอยร้าวที่เปลี่ยนแปลง 90.1% และ 97.0% ตามลำดับ สำหรับรอยร้าวขนาดความกว้างไม่เกิน 350 µm มีค่าความกว้างของรอยร้าวที่เปลี่ยนแปลง 54.0% นอกจากนี้เมื่อติดตามค่าความกว้างของรอยร้าวที่เปลี่ยนแปลงในแต่ละรอบของทุกกลุ่มตัวอย่าง พบว่ารอยร้าวได้รับการซ่อมแซมอย่างต่อเนื่องจนครบ 7 รอบ และมีแนวโน้มว่าอาจจะพัฒนาต่อไปได้ หากใช้เวลาในการซ่อมแซมที่มากขึ้น
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์