การประเมินประสิทธิภาพแบบจำลองอุทกวิทยา SWAT สำหรับการจำลองปริมาณน้ำท่า โดยใช้เทคนิคการการปรับเทียบและสอบทานแบบหลายสถานีในพื้นที่ลุ่มน้ำมูล

ผู้แต่ง

  • หริส ประสารฉ่ำ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น
  • วินัย เชาวน์วิวัฒน์
  • สมพินิจ เหมืองทอง
  • กนกศรี ศรินนภากร
  • สุรเจตส์ บุญญาอรุณเนตร

คำสำคัญ:

แบบจำลองอุทกวิทยา, การปรับเทียบ, การสอบทาน, แบบจำลอง SWAT, ลุ่มน้ำมูล

บทคัดย่อ

การประยุกต์ใช้แบบจำลองทางอุทกวิทยาถือได้ว่ามีความสำคัญในการประเมินสภาพทางอุทกวิทยาในระดับลุ่มน้ำ การกำหนดค่าแบบจำลองเพื่อให้ผลการวิเคราะห์มีความแม่นยำมากที่สุดจึงเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญในการชี้วัดประสิทธิภาพของแบบจำลองอุทกวิทยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งลุ่มน้ำขนาดใหญ่ที่มีสถานีตรวจวัดหลายสถานี การศึกษานี้มีเป้าหมายคือการนำเสนอเทคนิคการปรับเทียบและสอบทานผลการจำลองสภาพน้ำท่าในพื้นที่ลุ่มน้ำมูลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ด้วยแบบจำลองทางอุทกวิทยา SWAT และ SWAT-CUP โดยเปรียบเทียบกับข้อมูลจากสถานีตรวจวัดจำนวน 29 สถานี ระหว่าง พ.ศ.2534-2563 ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า การใช้เทคนิคการแบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วนหลัก (ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ) และการกำหนดจุดออกของลุ่มน้ำย่อย ณ ตำแหน่งสถานีตรวจวัดสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ หลังจากปรับแต่งค่าของตัวแปรความอ่อนไหวจำนวน 8 ตัวแปรใน SWAT-CUP ครอบคลุมทุกพื้นที่เพื่อกำหนดค่าที่เหมาะสมของแบบจำลองโดยชี้ให้เห็นได้จากค่าดัชนี R2 ของตำแหน่งที่เปรียบเทียบโดยส่วนใหญ่ในพื้นที่ลุ่มน้ำมูลทั้ง 29 จุด อยู่ในระดับที่น่าพึงพอใจ อย่างไรก็ตาม การปรับแต่งให้ผลคำนวณได้รับค่าดัชนี NS และ PBIAS ให้อยู่ในระดับที่ผ่านเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ยังมีความจำเป็นที่ต้องค้นหาวิธีดำเนินการที่เหมาะสมสำหรับการวิเคราะห์ด้วย SWAT-CUP เทคนิคและรูปแบบของการปรับเทียบและสอบทานแบบจำลองทางอุทกวิทยา SWAT ที่ได้นำเสนอในการศึกษานี้คาดว่าจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อการจำลองสภาพอุทกวิทยาสำหรับลุ่มน้ำที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่และมีสถานีตรวจวัดที่เพียงพอ ทั้งนี้เพื่อเป็นการยืนยันถึงการพัฒนาเครื่องมือให้มีความแม่นยำและมีประสิทธิภาพเป็นที่น่าเชื่อถือและก่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดสำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-19

วิธีการอ้างอิง

[1]
ประสารฉ่ำ ห., เชาวน์วิวัฒน์ ว., เหมืองทอง ส., ศรินนภากร ก., และ บุญญาอรุณเนตร ส., “การประเมินประสิทธิภาพแบบจำลองอุทกวิทยา SWAT สำหรับการจำลองปริมาณน้ำท่า โดยใช้เทคนิคการการปรับเทียบและสอบทานแบบหลายสถานีในพื้นที่ลุ่มน้ำมูล”, ncce27, ปี 27, น. WRE12–1, ก.ย. 2022.

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##