การจำลองปริมาณน้ำท่าลุ่มน้ำลำเชียงไกรโดยใช้แบบจำลอง SWAT

ผู้แต่ง

  • กฤต มิ่งขวัญ สาขาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น
  • หริส ประสารฉ่ำ
  • สมพินิจ เหมืองทอง

คำสำคัญ:

อ่างเก็บน้ำลำเชียงไกร, แบบจำลองทางอุทกวิทยา, การแจกแจงล๊อกเพียร์ซันประเภทสาม, SWAT model

บทคัดย่อ

อ่างเก็บน้ำลำเชียงไกรเกิดทำนบดินทรุดตัวอาจเนื่องจากสภาพอุทกวิทยาที่เปลี่ยนแปลงไปจากการออกแบบ ประกอบกับต้องรองรับปริมาณน้ำฝนที่ตกต่อเนื่องจากพายุโซนร้อนเตี้ยนหมู่ ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดน้ำท่วมหนักรุนแรงในลุ่มน้ำลำเชียงไกรปี พ.ศ.2564 ทั้งนี้การจำลองเพื่อเรียนรู้สภาพอุทกวิทยาเป็นอีกวิธีหนึ่งในการช่วยวางแผนจัดการอ่างเก็บน้ำ การศึกษาครั้งนี้ได้จำลองน้ำท่าเข้าสู่อ่างเก็บน้ำลำเชียงไกรด้วย SWAT model ร่วมกับการวิเคราะห์ปริมาณน้ำท่าสูงสุดที่คาบการเกิดซ้ำต่าง ๆ ผลการศึกษาพบว่า SWAT model ให้ผลการจำลองน้ำท่าที่ค่าความสัมพันธ์ R2 = 0.72 และ NSE = 0.71 เมื่อเทียบกับข้อมูลน้ำท่าของอ่างเก็บน้ำลำเชียงไกร ส่วนผลการศึกษาน้ำท่าสูงสุดใช้การแจกแจงล๊อกเพียร์ซันประเภทสามเพื่อการประมาณปริมาณน้ำท่าเข้าอ่างเก็บน้ำลำเชียงไกรที่คาบการเกิดซ้ำ 25, 50 และ 100 ปี ซึ่งผลจากการศึกษานี้สามารถเสนอแนะแนวทางการป้องกันการทรุดตัวของทำนบดินและเพิ่มประสิทธิภาพอ่างเก็บน้ำลำเชียงไกรในอนาคตต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-19

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##