การประยุกต์ใช้แบบจำลองทางอุทกวิทยา SWAT และข้อมูลฝนดาวเทียม GSMap เพื่อประเมินปริมาณน้ำท่าในพื้นที่ลุ่มน้ำที่ไม่มีสถานีตรวจวัด : กรณีศึกษา ลุ่มน้ำลำพะเนียง
กรณีศึกษา ลุ่มน้ำลำพะเนียง
คำสำคัญ:
ปริมาณน้ำท่า, แบบจำลอง SWAT, ฝนดาวเทียม GSMap, ลุ่มน้ำลำพะเนียงบทคัดย่อ
ปริมาณน้ำท่ามีความสัมพันธ์กับปริมาณฝนที่กระจายตัวครอบคลุมพื้นที่ของลุ่มน้ำ ในขณะที่สถานีตรวจวัดน้ำท่าและปริมาณฝนในลุ่มน้ำระดับภูมิภาค โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังมีจำนวนน้อย ซึ่งส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการน้ำของทั้งลุ่มน้ำ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำท่าในพื้นที่ลุ่มน้ำลำพะเนียงในพื้นที่ที่ไม่มีสถานีตรวจวัด โดยประยุกต์ใช้แบบจำลอง SWAT ร่วมกับข้อมูลฝนดาวเทียม GSMap ระหว่าง ค.ศ. 2010 - 2020 ผลการศึกษาพบว่า การวิเคราะห์ปริมาณน้ำท่าด้วยแบบจำลอง SWAT บูรณาการร่วมกับข้อมูลฝนดาวเทียม GSMap จำนวน 55 จุด ครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำ โดยผลที่ได้รับเมื่อเปรียบเทียบกับสถานี E.64 และ E.68A แล้วนั้น มีความน่าเชื่อถือในระดับที่ยอมรับได้ ซึ่งชี้ได้จากค่าดัชนี R2>0.6, NSE>0.5 และ PBIAS±25% ตามลำดับ ส่งผลทำให้การจำลองปริมาณน้ำท่าในพื้นที่ที่ไม่มีสถานีตรวจวัดสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและแสดงผลลัพธ์ปริมาณน้ำท่ารายลุ่มน้ำย่อยในรูปแบบของแผนที่เชิงพื้นที่ ผลของการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการประยุกต์ใช้แบบจำลอง SWAT บูรณาการร่วมกับข้อมูลฝนดาวเทียม GSMap สามารถนำมาใช้ประเมินปริมาณน้ำท่าของลุ่มน้ำที่ขาดแคลนสถานีตรวจวัดได้เป็นอย่างเหมาะสม โดยผลการวิเคราะห์นี้คาดว่าจะนำไปใช้สนับสนุนการวางแผนบริหารจัดการน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดผลการทบต่อการเกิดอุทกภัยหรือภัยแล้งในพื้นที่ได้
##plugins.generic.usageStats.downloads##
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์