การประเมินความผันแปรของประสิทธิภาพการไหลของน้ำท่าผิวดินในช่วงสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน และการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยใช้แบบจำลอง SWAT ในพื้นที่ลุ่มน้ำเลย
คำสำคัญ:
น้ำท่วมฉับพลัน, การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน, ประสิทธิภาพการไหลของปริมาณน้ำท่าผิวดิน, SWAT, ลุ่มน้ำเลยบทคัดย่อ
ท่วมฉับพลันเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยครั้งในฤดูน้ำหลาก ซึ่งสร้างความเสียหายต่อเขตที่อยู่อาศัยและพื้นที่เกษตรกรรมในที่ราบ โดยมีสาเหตุจากฝนตกหนักในพื้นที่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ และการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์หลักคือการประยุกต์ใช้แบบจำลอง SWAT เพื่อประเมินความผันแปรของประสิทธิภาพการไหลของปริมาณน้ำท่าผิวดินในพื้นที่ลุ่มน้ำเลย (ลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำโขงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) โดยเปรียบเทียบปริมาณน้ำท่าใน 3 ช่วงเวลา ที่เกิดสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลันคือ พ.ศ.2545 พ.ศ.2554 และ พ.ศ.2560 ซึ่งคาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน เทียบกับปี พ.ศ.2552 ซึ่งเป็นปีที่มีค่าเฉลี่ยปกติ ผลการศึกษาพบว่าการจำลองสภาพน้ำท่าระดับรายวันที่ได้จาก SWAT เปรียบเทียบกับข้อมูลจากสถานีตรวจวัด KH.58A ในปี พ.ศ.2552 มีความน่าเชื่อถือ โดยแสดงจากค่า R2 NSE และ PBIAS อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินเปรียบเทียบจาก 3 ช่วงเวลา พบว่ามีการขยายตัวของพื้นที่ชุมชนเมือง สวนอ้อย และสวนยางพารา โดยเฉพาะสวนยางพาราเพิ่มสูงขึ้นแทนที่พื้นที่เกษตรกรรมแบบดั้งเดิม ส่งผลทำให้ปริมาณน้ำท่าผิวดินในช่วงฤดูฝนมีแนวโน้มสูงขึ้นอยู่ที่ 30% ขึ้นไป โดยสัมพันธ์กับค่า CN2 ที่แสดงค่าสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มน้ำย่อยที่เป็นจุดรวมปริมาณน้ำท่าจากลำน้ำย่อยและมีการเปลี่ยนแปลงจากพื้นที่เกษตรกรรมเป็นพื้นที่ชุมชน ผลที่ได้จากการศึกษาจึงคาดว่าจะนำไปประยุกต์ใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ และการกำหนดแนวทางการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์ที่ดินและทรัพยากรน้ำสำหรับประชาชนและหน่วยงานของรัฐ เมื่อเผชิญกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพอุทกวิทยาแบบฉับพลันโดยเฉพาะในช่วงฤดูน้ำหลาก
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์