การจัดตำแหน่งช่องเก็บค่าผ่านทางพิเศษเพื่อรองรับระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น (M-Flow)
คำสำคัญ:
การจัดตำแหน่งช่องจราจร, ทางพิเศษฉลองรัช, แบบจำลองสภาพจราจรระดับจุลภาค, ระบบ M-Flowบทคัดย่อ
การติดขัดบริเวณหน้าด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดความล่าช้าในการเดินทางบนทางพิเศษ กระทรวงคมนาคมจึงได้มีนโยบายให้เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวเพื่อให้รถสามารถผ่านด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษได้โดยเร็วไม่หยุดชะงัก และลดความแออัดของรถบริเวณหน้าด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษ โดยหนึ่งในมาตรการที่สำคัญ คือ การพัฒนาระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น หรือเรียกว่า ระบบ M-Flow ซึ่งเป็นระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษอัตโนมัติรูปแบบใหม่โดยใช้เทคโนโลยี ระบบปัญญาประดิษฐ์ในรูปแบบการอ่านป้ายทะเบียนรถอัตโนมัติร่วมกับระบบการตรวจจับยานพาหนะอัตโนมัติ เพื่อใช้ตรวจสอบยานพาหนะและระบุตัวตนผู้ใช้บริการในการเรียกเก็บค่าผ่านทางพิเศษ เพื่อให้การดำเนินการแก้ไขปัญหาจราจรมีประสิทธิภาพ จึงประยุกต์ใช้แบบจำลองสภาพจราจรระดับจุลภาค AIMSUN วิเคราะห์ความเหมาะสมของการจัดตำแหน่งช่องเก็บค่าผ่านทางพิเศษและผลกระทบด้านจราจรต่าง ๆ บริเวณด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษจตุโชติ ทางพิเศษฉลองรัช ให้รองรับช่องเก็บค่าผ่านทางพิเศษอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น (M-Flow) และระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษที่มีอยู่เดิมทั้งช่องเก็บค่าผ่านทางพิเศษอัตโนมัติ (Easy Pass) และช่องเก็บค่าผ่านทางพิเศษแบบเงินสด เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้บริการทางพิเศษ
##plugins.generic.usageStats.downloads##
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 26 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์