การติดตั้งระบบบริหารจัดการช่องจราจรบนทางพิเศษแบบอัตโนมัติ ทางพิเศษฉลองรัช

  • ฐิติพงศ์ สุขเสริม กองวิจัยและพัฒนา การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
  • นันทวรรณ พิทักษ์พานิช
  • เทพฤทธิ์ รัตนปัญญากร
คำสำคัญ: ระบบบริหารจัดการช่องจราจรแบบอัตโนมัติ, ตรวจจับแผ่นป้ายทะเบียน, ฝ่าฝืนเส้นทึบ, ควบคุมช่องจราจร

บทคัดย่อ

การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้วิเคราะห์หาแนวทางในการบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัดบนทางพิเศษฉลองรัชที่เกิดจากการติดขัดสะสมจากถนนประดิษฐ์มนูธรรม (ทางลงเกษตร - นวมินทร์) พบว่าการจัดช่องจราจรด้วยเส้นทึบบริเวณทางลงสามารถบรรเทาปัญหาได้ดีที่สุดเมื่อเทียบกับมาตรการอื่น ๆ กทพ. จึงได้นำมาตรการดังกล่าวไปดำเนินการและทำการประเมินผลก่อนและหลังดำเนินมาตรการ (Before & After Analysis) พบว่ามาตรการการบรรเทาปัญหาด้วยเส้นทึบทำให้การจราจรบริเวณดังกล่าวคล่องตัวขึ้น อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดบนทางพิเศษฉลองรัชในระยะแรกโดยการจัดช่องจราจรด้วยเส้นทึบนั้น ยังมีผู้ใช้ทางบางกลุ่มฝ่าฝืนเครื่องหมายบังคับใช้จราจร (เส้นทึบ) ทำให้ประสิทธิภาพในการบรรเทาปัญหาลดลงจากที่คาดการณ์ไว้ ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างยั่งยืน มีประสิทธิภาพ และมีการบังคับใช้กฎหมายเกิดขึ้น จึงได้มีแนวคิดในการดำเนินโครงการติดตั้งระบบบริหารจัดการช่องจราจรบนทางพิเศษแบบอัตโนมัติ (Automatic Lane Control System) เพื่อให้ตำแหน่งดังกล่าวทำงานโดยอัตโนมัติและเป็นต้นแบบของการแก้ปัญหาจราจรโดยใช้เทคโนโลยีช่วยจัดการการจราจร ซึ่งจะลดการทำงานของเจ้าหน้าที่จัดการจราจรที่คอยอำนวยความสะดวกบริเวณนี้ โดยระบบสามารถทำงานอัตโนมัติตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งนี้คาดว่าระบบบริหารจัดการช่องจราจรบนทางพิเศษแบบอัตโนมัติจะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงช่วยให้ผู้ฝ่าฝืนเครื่องหมายบังคับใช้จราจร (เส้นทึบ) ลดลง และการเกิดอุบัติเหตุซ้ำซ้อนลดลง เนื่องจากมีการให้ข้อมูลสภาพจราจรและอุบัติเหตุแก่ผู้ใช้ทางผ่านป้ายข้อความประชาสัมพันธ์ (Variable Message Sign : VMS)

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2021-06-24
สาขาของบทความ
วิศวกรรมขนส่ง จราจรอัจฉริยะ และโลจิสติกส์

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้

1 2 3 > >>