การประเมินประสิทธิภาพของระบบอ่านป้ายทะเบียนอัตโนมัติที่รองรับความเร็วสูงบนทางพิเศษบูรพาวิถี
คำสำคัญ:
ระบบอ่านป้ายทะเบียนอัตโนมัติ, การตรวจจับยานพาหนะ, ทางพิเศษบูรพาวิถีบทคัดย่อ
การทางพิเศษแห่งประเทศไทยมีแผนการพัฒนาระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษ โดยการนำเทคโนโลยีระบบการเก็บค่าผ่านทางพิเศษแบบไม่มีไม้กั้นในรูปแบบหลายช่องทาง (Multi - Lane Free Flow: MLFF) มาใช้กับระบบทางพิเศษ ซึ่งระบบดังกล่าวเป็นระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษอัตโนมัติรูปแบบใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีระบบตรวจจับยานพาหนะอัตโนมัติ (Automatic Vehicle Identification: AVI) ร่วมกับระบบอ่านป้ายทะเบียนอัตโนมัติ (Automatic License Plate Recognition: ALPR) ดังนั้น จึงได้มีการทดสอบประสิทธิภาพด้านความแม่นยำของระบบอ่านป้ายทะเบียนอัตโนมัติที่รองรับความเร็วสูง และระบบอ่านป้ายทะเบียนอัตโนมัติที่ไม่รองรับความเร็วสูง โดยการติดตั้งอุปกรณ์ 1) กล้อง ALPR 2) อุปกรณ์ตรวจวัดสภาพจราจร (Microwave Radar Sensor) และ 3) อุปกรณ์ตรวจจับยานพาหนะ (Detector) บนโครงป้ายคร่อมช่องจราจร (Gantry) ตำแหน่ง กม. 32+500 ทิศทางมุ่งหน้าบางนา ทางพิเศษบูรพาวิถี จากการทดสอบทั้งช่วงเวลากลางวันและกลางคืนนั้น พบว่า อุปกรณ์ Detector สามารถตรวจจับยานพาหนะได้ทั้งหมด 80,364 คัน แบ่งเป็นยานพาหนะที่ใช้ความเร็วสูงกว่า 120 กม./ชม. จำนวน 31% ยานพาหนะที่ใช้ความเร็วระหว่าง 100-120 กม./ชม. จำนวน 58% และยานพาหนะที่ใช้ความเร็วต่ำกว่า 100 กม./ชม. จำนวน 11% โดยระบบอ่านป้ายทะเบียนรถยนต์จากกล้อง ALPR ที่รองรับความเร็วสูงมีความแม่นยำในการตรวจจับยานพาหนะ จำนวน 76,291 คัน คิดเป็น 94.93% และระบบอ่านป้ายทะเบียนรถยนต์จากกล้อง ALPR ที่ไม่รองรับความเร็วสูงมีความแม่นยำในการตรวจจับยานพาหนะ จำนวน 41,740 คัน คิดเป็น 51.94% ซึ่งผลการศึกษาในครั้งนี้จะสามารถนำไปใช้สำหรับระบบการเก็บค่าผ่านทางพิเศษแบบไม่มีไม้กั้นในรูปแบบหลายช่องทาง (MLFF) ได้ในอนาคต
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 26 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์