การประเมินความแม่นยำของแบบจำลองปริมาณน้ำฝนสะสมวิกฤติ (AP-Model) ในการคาดการณ์พื้นที่ระดับความอ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่มล่วงหน้า
คำสำคัญ:
ความแม่นยำ, เกณฑ์ปริมาณน้ำฝนวิกฤติ, แบบจำลองปริมาณน้ำฝนสะสมวิกฤติ AP-Modelบทคัดย่อ
ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พัฒนาเกณฑ์ปริมาณน้ำฝนสะสมวิกฤติ จากการรวบรวมตำแหน่งและข้อมูลปริมาณน้ำฝนที่ตกจริงในช่วงเวลาเกิดเหตุการณ์ดินถล่มในอดีตมาสร้างความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณน้ำฝนสะสม 3 วันก่อนหน้าและปริมาณน้ำฝนรายวันที่นำไปใช้ในแบบจำลองปริมาณน้ำฝนสะสมวิกฤติ (Antecedent Precipitation Model, AP-Model) ซึ่งเป็นแบบจำลองที่ใช้คาดการณ์พื้นที่ระดับความอ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่มล่วงหน้า โดยแบบจำลอง AP-Model นั้นวิเคราะห์โดยใช้ข้อมูลน้ำฝนคาดการณ์จากแบบจำลอง WRF (Weather Research and Forecasting Model) ของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) เข้าสู่กระบวนการคำนวณปริมาณน้ำฝนสะสม 3 วันก่อนหน้าและปริมาณน้ำฝนรายวันเปรียบเทียบกับเกณฑ์ปริมาณน้ำฝนสะสมวิกฤติ จากการวิเคราะห์ของแบบจำลองในข้างต้น แสดงให้เห็นถึงข้อจำกัดในการใช้ข้อมูลปริมาณน้ำฝน เนื่องจากแบบจำลอง AP-Model ใช้ปริมาณน้ำฝนของแบบจำลอง WRF ซึ่งมีความถูกต้องอยู่ที่ร้อยละ 69 ในการคำนวณปริมาณน้ำฝนสะสม 3 วันก่อนหน้า ด้วยข้อจำกัดนี้อาจจะส่งผลให้แบบจำลอง AP-Model มีความแม่นยำในการคาดการณ์พื้นที่ระดับความความอ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่มลดลง ดังนั้น บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความแม่นยำในการคาดการณ์พื้นที่ระดับความอ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่มล่วงหน้าด้วยวิธี ROC โดยเปรียบเทียบข้อมูลพื้นที่ระดับความอ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่มจากการแบบจำลอง AP-Model และข้อมูลสถิติของเหตุการณ์เกิดดินถล่มในพ.ศ. 2557 ถึงพ.ศ. 2562 จากการประเมินความถูกต้อง พบว่า Area Under Curve (AUC) สำหรับการเตือนภัยดินถล่มในพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดดินถล่มในช่วงร้อยละ 20-50 (ระดับเตรียมพร้อมรับมือ พื้นที่สีเหลือง) เท่ากับ 0.736 อยู่ในระดับ ดีและ AUC สำหรับการเตือนภัยดินถล่มในพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดดินถล่มมากกว่าร้อยละ 50 (ระดับอพยพ พื้นที่สีแดง) เท่ากับ 0.639 อยู่ในระดับ ปานกลาง
##plugins.generic.usageStats.downloads##
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์