การวิเคราะห์กำลังรับแรงเฉือนไม่ระบายน้ำของดินถมบ่อถูกปรับปรุงด้วยวิธี Vacuum Consolidation Method

ผู้แต่ง

  • ศาสตร์ศิลป์ ภักดีเมฆ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขต
  • ปิยวัฒน์ เงินบำรุง
  • สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์

คำสำคัญ:

Vacuum Consolidation Method, Backfilled lump soil, ground water level drawdown

บทคัดย่อ

ในอดีตมียืมบ่อน้ำถูกทิ้งร้างซึ่งเต็มไปด้วยน้ำในกรุงเทพมหานครฯ ประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ในปัจจุบันบ่อน้ำถูกถมกลับด้วยก้อนดินโดยไม่มีการสูบน้ำออก ก้อนดินที่นำมาใช้สำหรับถมกลับลงในบ่อยืมดินส่วนมากจะมีความชื้นในดินสูง และมีค่ากำลังรับแรงเฉือนไม่ระบายน้ำต่ำซึ่งเรียกว่าดินเหนียวอ่อนกรุงเทพ ดินเหนียวอ่อนที่ถูกถมกลับมีลักษณะเป็นก้อน ก้อนดินถมบ่อถูกถมลงในบ่อยืมดินอย่างรวดเร็ว เป็นผลทำให้น้ำไม่สามารถระบายออกได้ทันที และถูกขังอยู่ระหว่างช่องว่างของก้อนดินถมบ่อ กำลังรับแรงเฉือนไม่ระบายน้ำของดินถมบ่อมีค่าต่ำตลอดทั้งความลึกเกิดจากการถมกลับใหม่ การวิเคราะห์ค่ากำลังรับแรงเฉือนไม่ระบายน้ำสามารถแบ่งออกเป็นสองส่วนได้แก่ ประการที่หนึ่งการเพิ่มขึ้นของกำลังรับแรงเฉือนไม่ระบายน้ำหลังจากปรับปรุงคุณภาพด้วยวิธีสุญญากาศ (Vacuum Consolidation Method) ซึ่งถูกวิเคราะห์จากการทดสอบในสนามด้วยวิธี Cone Penetration Test การทดสอบจากห้องปฏิบัติการด้วยวิธีการทดสอบแรงอัดแบบไม่จำกัด และทฤษฎีของ Mesri and Khan (2011) ประการที่สอง ปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มขึ้นของกำลังรับแรงเฉือนไม่ระบายน้ำ เช่น สิ่งแวดล้อมรอบข้าง การทำถนนเพื่อถมดินกลับ คุณสมบัติของดิน และการลดลงของแรงดันน้ำในชั้นทรายเนื่องจากการสูบน้ำบาดาล

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-07-09

วิธีการอ้างอิง

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##