การศึกษาการถ่ายแรงจากดินคันทางสู่เสาเข็มรองรับในดินอ่อน ด้วยวิธีความสัมพันธ์ทางภาพถ่าย

ผู้แต่ง

  • ชัยสิทธิ์ เพ็งจันทร์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิยาลัยพะเยา
  • นิพันธ์ อินสุข
  • อภิวิชญ์ ทองรักษา
  • กรกฎ นุสิทธ์
  • สุริยาวุธ ประอ้าย

คำสำคัญ:

แบบจำลองทางกายภาพ, การถ่ายแรงของดินคันทาง, ความสัมพันธ์ของภาพถ่าย, แรงวัฏจักร

บทคัดย่อ

ความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทำให้วิศวกรจำเป็นต้องออกแบบโครงสร้างบนชั้นดินอ่อน แรงกระทำภายนอกที่พื้นผิวดินจะทำให้เกิดการทรุดตัวที่แตกต่างกันอย่างมาก การทรุดตัวเหล่านี้จะเป็นจะต้องถูกจำกัดเพื่อให้เกิดเสถียรภาพและความมั่นคงของโครงสร้าง ในบรรดาวิธีการต่าง ๆ ของวิธีการปรับปรุงดิน วิธีการปรับปรุงดินโดยใช้เสาเข็มซึ่งเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับเทคนิคแบบดั้งเดิมมากขึ้นถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวาง บทความนี้นำเสนอการศึกษากลไกการถ่ายแรงที่เกิดขึ้นในชั้นดินถมที่วางอยู่บนชั้นดินอ่อนที่เสริมกำลังด้วยเสาเข็มภายใต้หน่วยแรงคงที่และแบบวัฏจักร โดยใช้แบบจำลองแบบสามมิติในห้องปฏิบัติการ แบบจำลองที่ใช้ศึกษาจะประกอบไปด้วยเสาเข็มขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 ซม. จำนวน 20 ต้น ฝังในชั้นดินอ่อนเสมือน การประยุกต์ใช้วิธีการเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของภาพถ่าย (Digital Image Correlation, DIC) จะถูกนำมาใช้ในการวิเคราะห์กลไกในการถ่ายแรง จากการทดสอบพบว่าการทรุดตัวสะสมและการเพิ่มขึ้นของแรงที่ถูกถ่ายไปยังหัวเสาเข็มในระหว่างการให้แรงแบบวัฏจักรสามารถตรวจวัดได้ การวิเคราะห์ภาพถ่ายช่วยให้สามารถเข้าใจถึงการเคลื่อนที่ในชั้นถ่ายแรง

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-07-09

วิธีการอ้างอิง

[1]
เพ็งจันทร์ ช. และคณะ 2020. การศึกษาการถ่ายแรงจากดินคันทางสู่เสาเข็มรองรับในดินอ่อน ด้วยวิธีความสัมพันธ์ทางภาพถ่าย. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), GTE45.

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##