การศึกษาเปรียบเทียบค่าฟอสฟอรัสในกระบวนการหมักปุ๋ยแบบไร้อากาศเมื่อมีการเติม ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

  • ศศิประภา เกตุพิมล ภาควิชาวิศกรรมโยธา คณะวิศกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • คฑาพล ปิ่นพัฒนพงศ์
  • ฐนียา รังสีสุริยะชัย
  • ภาวัต น้ำใส ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
คำสำคัญ: การหมักแบบไร้อากาศ, เศษอาหารช้าง, กากมูลหมัก, ฟอสฟอรัส

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มุ่งเน้นเกี่ยวกับการเปรียบเทียบค่าฟอสฟอรัสในกระบวนการหมักปุ๋ยแบบไร้อากาศเมื่อมีการเติมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบปริมาณฟอสฟอรัสที่เกิดขึ้นจากการเติมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการหมักปุ๋ยแบบไร้อากาศจากมูลช้างร่วมกับกากมูลหมักและเศษอาหารช้าง ในการทดลองได้ทำการเลือกเศษอาหาร ได้แก่ เหง้าสัปปะรดและหญ้าเนเปียร์ โดยทำการผสมหญ้าเนเปียร์ : เหง้าสับปะรด : มูลช้าง : กากมูลหมักจากกระบวนการหมักแก๊สชีวภาพ เท่ากับ 2.5 : 2.5 : 3.5 : 1.5 โดยปริมาตร ตามลำดับ ทำการหมักแบบไร้อากาศเป็นระยะเวลา 45 วัน ในระบบปิดด้วยชุดการทดลองในระดับห้องปฏิบัติการ โดยในการทดลองประกอบด้วยการทดลองทั้งหมด 2  ชุด คือ ชุดทดลองที่ 1 เป็นชุดควบคุม จะไม่มีการเติมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และชุดทดลองที่ 2 จะมีการเติมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาตร 2 ลิตรต่อนาที โดยทำการเติมแบบกะ เป็นเวลา 20 นาทีต่อวัน ผลการทดลองพบว่าลักษณะทางกายภาพของปุ๋ยหมักขวดที่ 1 และ 2  เมื่อสิ้นสุดการหมักในระยะเวลาที่ 45 วัน มีลักษณะเป็นปุ๋ยของแข็งกึ่งเหลว สีน้ำตาล และมีกลิ่นเปรี้ยว เหมือนกันทั้ง 2 ชุดการทดลอง ค่าความเป็นกรด-ด่างของชุดควบคุมเท่ากับ 6.16 และชุดการเติมก๊าซเท่ากับ 5.19 ปริมาณความชื้นของทั้ง 2 ชุดจะอยู่ในช่วงร้อยละ 75-85  ในส่วนของค่าฟอสฟอรัสทั้งหมด พบว่าในชุดควบคุมมีปริมาณร้อยละฟอสฟอรัสมากกว่าเมื่อมีการเติมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยมีค่าร้อยละ 0.58 และ 0.09 ตามลำดับ การเติมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปในระบบทำให้จุลินทรีย์บางตัวที่ไม่ชอบก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีการย่อยสลายสารอินทรีย์โดยใช้ฟอสฟอรัสเป็นธาตุอาหารเพื่อช่วยในการเจริญเติบโตทำให้ต้องใช้ฟอสฟอรัสเพิ่มมากขึ้น จึงมีค่าฟอสฟอรัสในปุ๋ยลดลง

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด

รายการอ้างอิง

[1] ธงชัย มาลา. (2546). ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพ. ภาควิชาปฐพีวิทยา, คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
[2] ยงยุทธ โอสถสภา, อรรถศิษฐ์ วงศ์มณีโรจน์ และ ชวลิต ฮงประยูร, 2554, ปุ๋ยเพื่อการเกษตร ยั่งยืน, พิมพ์ครั้งที่ 2, สำนักพิมพ์มหาวิทยา ลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
[3] Wagner JD, Cafalu WT, Anthony MS, Litwak KN, Zhang L, Clarkson TB. Dietary soy protein and estrogen replacement therapy improve cardiovascular risk factors and decrease aortic cholesterylestervcontent in ovariectomizedcynomolgus monkey. Metabolism 1997;46:698-705.
[4] มูลนิธิช้างแห่งประเทศไทย (2553). มุมขบ. โรงพิมพ์ วี.เจ. พริ้นติ้ง, หน้า 14.
[5] รัชพล พะวงศ์รัตน์ (2558). กระบวนการปรับสภาพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเอทานอลจากวัสดุเหลือทิ้ง ทางการเกษตรประเภทลิกโนเซลลูโลส. วารสารวิชาการ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ปีที่ 2, ฉบับที่ 1, หน้า 143-154.
[6] นายโสฬส แซ่ลิ้ม (2559). ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชนในประเทศไทย. เอกสารวิชาการ. หน้า 71-103.
[7] ดร.ฉัตรชัย จันทร์ดวงเด่น (2550). ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ การทำหมักปุ๋ย วารสาร MTEC ฉบับเดือน กรกฎาคม – กันยายน 2550. หน้า 48 – 54
[8] วิกิตำรา. ปุ๋ยหมัก สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2562 จาก https://th.wikibooks.org/wiki/ปุ๋ยหมัก.
[9] จิติมา ยถาภูธานนท์ (2558). การพัฒนาระบบการตรวจวิเคราะห์พืชและปัจจัยการผลิตทางการเกษตร. รายงานโครงการวิจัย. หน้า 18-40.
เผยแพร่แล้ว
2020-07-07
How to Cite
[1]
เกตุพิมลศ., ปิ่นพัฒนพงศ์ ค., รังสีสุริยะชัยฐ. และ น้ำใสภ. 2020. การศึกษาเปรียบเทียบค่าฟอสฟอรัสในกระบวนการหมักปุ๋ยแบบไร้อากาศเมื่อมีการเติม ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), ENV08.

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้