การเพิ่มศักยภาพการผลิตก๊าซชีวภาพด้วยการปรับสภาพหญ้าเนเปียร์โดยสารละลายด่างโซเดียมไฮดรอกไซด์หมักร่วมกับเศษอาหาร

  • คฑาพล ปิ่นพัฒนพงศ์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • ฐนียา รังษีสุริยะชัย
คำสำคัญ: ก๊าซชีวภาพ, เศษอาหาร, หญ้าเนเปียร์, กระบวนการปรับสภาพ, กระบวนการย่อยสลายแบบไร้อากาศ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปริมาณก๊าซชีวภาพที่เกิดขึ้นในการหมักร่วมระหว่างหญ้าเนเปียร์และเศษอาหารและทำการเปรียบเทียบปริมาณก๊าซชีวภาพก่อนและหลังการปรับสภาพด้วยสารละลายด่างโซเดียมไฮดรอกไซด์ 4% w/v ใช้ระยะเวลาในการปรับสภาพเท่ากับ 0.5 และ 1 ชั่วโมง ตามลำดับ โดยใช้ถังปฏิกรณ์แบบไร้อากาศขนาด 1.5 ลิตร ทำการเติมวัสดุหมักเพียงครั้งเดียวระยะเวลาทำการทดลอง 45 วัน โดยผสมวัสดุหมักระหว่างหญ้าเนเปียร์และเศษอาหารที่อัตราส่วน 25:75 โดยหญ้าเนเปียร์ที่ไม่ผ่านการปรับสภาพ  พบว่าผลการทดลอง เซลลูโลสเท่ากับร้อยละ 36.21 เฮมิเซลลูโลส เท่ากับร้อยละ 6.64 และมีปริมาณลิกนินเท่ากับร้อยละ 15.66 และเมื่อทำการปรับสภาพหญ้าด้วยสารละลายด่างโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่ความเข้มข้นร้อยละ 4 ที่ระยะเวลา 0.5 ชั่วโมง และ 1.0 ชั่วโมง พบว่าปริมาณของเซลลูโลสเพิ่มขึ้น โดยเท่ากับร้อยละ 3.94 และ 4.38 ตามลำดับ เฮมิเซลลูโลสมีอัตราการลดลงเท่ากับร้อยละ 3.94 และ 4.37 และ ลิกนินเท่ากับร้อยละ 6.28 และ 8.05 ตามลำดับ ดังนั้นจึงเลือกใช้หญ้าเนเปียร์ที่ผ่านการปรับสภาพด้วยการแช่ด่างโซเดียมไฮดรอกไซด์ ที่ความเข้มข้นร้อยละ 4 w/v เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ในกระบวนการหมักร่วมกับเศษอาหารเพื่อผลิตก๊าซชีวภาพ เนื่องจากสามารถสลายพันธะของลิกนินและเฮมิเซลลูโลสได้สูงสุด และเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการทดลองทำการวัดปริมาณก๊าซชีวภาพ พบว่าในถังที่ทำการปรับสภาพด้วยด่างโซเดียมไฮดรอกไซด์ 4% w/v ที่ระยะเวลา 1 ชั่วโมง มีปริมาณก๊าซชีวภาพสะสมสูงกว่าถังที่ไม่มีการปรับสภาพ โดยมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 37.37  แสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีกระบวนการปรับสภาพด้วยด่างนั้นใช้ในการกำจัดลิกโนเซลลูโลสในหญ้าเนเปียร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตก๊าซชีวภาพ

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด

รายการอ้างอิง

ฟาริดา พรหมมา, ดุษณี ธนะบริพัฒน์ และปราโมทย์ ศิริโรจน์ (2557). การผลติก๊าซชีวภาพจากหญ้าเนเปียร์ 3 สายพันธุ์. วารสารวิทยาศาสตร์ลาดกระบัง ปีที่ 23, ฉบับที่ 2, หน้า 30-50.

Paripok, P., Kazuo, S., Khanok, R. (2016). Structural changes and enzymatic response of Napier grass (Pennisetum purpureum) stem induced by alkaline pretreatment. Bioresource Technology, 218, pp. 247-256.

นิลวรรณ ไชยทนุ, ร่มไทร มุกเมืองทอง, วรุฒ ชมเจริญ และ อนุพันธ์ วรรณภิระ (2559). ศักยภาพการผลิตก๊าซมีเทนของหญ้าเนเปียร์พันธุ์แคระภายใต้การปรับสภาพเบื้องต้นด้วยสารละลายด่าง. วารสารวิศวรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, ปีที่ 1, ฉบับที่ 1, หน้า 32-36.

จิฑาภรณ์ ปัญญาเป็ง และ พัชรี อินธนู (2559). การผลิตแก๊สชีวภาพจากเศษอาหารด้วยกระบวนการหมักแบบกวนต่อเนื่อง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่โจ้, ประเทศไทย.
เผยแพร่แล้ว
2020-07-07
How to Cite
[1]
ปิ่นพัฒนพงศ์ค. และ รังษีสุริยะชัยฐ. 2020. การเพิ่มศักยภาพการผลิตก๊าซชีวภาพด้วยการปรับสภาพหญ้าเนเปียร์โดยสารละลายด่างโซเดียมไฮดรอกไซด์หมักร่วมกับเศษอาหาร. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), ENV03.

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้