ศึกษาการจัดการของเสียในสถานที่ก่อสร้างอย่างยั่งยืน

  • วิมลมาศ บุญยั่งยืน สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยพิบัติ สำนักวิชาสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี
  • ชลลดา เลาะฟอ
คำสำคัญ: การจัดการของเสีย, สถานที่ก่อสร้าง, ของเสียจากการก่อสร้าง, เพิ่มมูลค่า, อย่างยั่งยืน

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันมีการขยายตัวของโครงการก่อสร้างจำนวนมาก ซึ่งกระบวนการก่อสร้างแต่ละขั้นตอนก่อให้เกิดของเสียที่กำจัดได้ยากตามมาเป็นจำนวนมาก แต่ของเสียที่เกิดจากกระบวนการก่อสร้างสามารถนำเข้าสู่กระบวนการ 3R เพื่อลดของเสียที่เกิดขึ้น และสามารถก่อให้เกิดมูลค่าได้ โดยการลดปริมาณจากแหล่งกำเนิด การนำกลับมาใช้ซ้ำ การนำไปแปรรูปใหม่ได้ ดังนั้นจึงทำการศึกษาแนวทางการจัดการของเสียในสถานที่ก่อสร้างอย่างเหมาะสมและยั่งยืน จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลของเสียที่เกิดขึ้นในสถานที่ก่อสร้างทาวน์เฮาส์ 2 ชั้น (75 ตารางเมตรต่อหลัง) พบว่าเกิดของเสียแบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ คือ ของเสียที่เกิดขึ้นจากการทำงาน ได้แก่ คอนกรีต หิน ดิน ทราย เหล็ก กระเบื้อง ไม้แบบ คิดเป็นร้อยละ 11.4 ของปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นทั้งหมด และของเสียที่เกิดจากวัสดุบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ กระป๋องเหล็ก ถังสี ถุงพลาสติด ถุงปูน กล่องกระดาษ ไม้พาเลท คิดเป็นร้อยละ 88.6 ของปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นทั้งหมด ซึ่งวัสดุบรรจุภัณฑ์ต่างๆ สามารถก่อให้เกิดมูลค่าได้โดยสามารถขายให้บริษัทรับซื้อบรรจุภัณฑ์ไปแปรรูปใหม่ได้ ส่งผลให้มีรายได้จากการขายบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ประมาณ 1,341-1,839 บาทต่อทาวน์เฮาส์ 2 ชั้น 1 หลัง และไม่มีค่าใช้จ่ายในการกำจัดของเสีย ส่วนไม้พาเลทที่เกิดขึ้นจากการทำงานสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ และสามารถนำไปแปรรูปผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์ได้ ส่วนเศษเหล็กที่มีการวางแผนการใช้อย่างเหมาะสมเป็นการลดปริมาณของเสียจากแหล่งกำเนิดแล้ว ส่วนที่เหลือยังสามารถขายก่อให้เกิดรายได้ สำหรับคอนกรีต หิน ดิน ทราย และกระเบื้อง สามารถนำมาใช้เป็นวัสดุถม โดยมีค่าขนส่งของเสียประมาณ 100 บาทต่อทาวน์เฮาส์ 2 ชั้น 1 หลัง เมื่อเปรียบเทียบกับการจัดการของเสียโดยใช้วิธีขนส่งของเสียทั้งหมดออกไปกำจัดนอกสถานที่โดยไม่มีการแยกประเภทของเสียที่เกิดขึ้นมีค่าใช้จ่ายประมาณ 2,750 บาทต่อทาวน์เฮาส์ 2 ชั้น 1 หลัง ดังนั้นเมื่อรวมค่าใช้จ่ายในการขนของเสียออกไปกำจัดภายนอกแบบอดีต กับรายได้จากการขายบรรจุภัณฑ์ ซึ่งสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มของการจัดการของเสียอย่างเป็นระบบที่เหมาะสมและยั่งยืน รวมเป็นเงินที่ไม่จำเป็นต้องสูญเสียและเงินที่ได้คืนกลับประมาณ 3,090 บาทต่อทาวน์เฮาส์ 2 ชั้น 1 หลัง

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด

รายการอ้างอิง

[1] Chen, Z., Li, H., & Wong, C. T. C. (2002). An application of bar-code system for reducing construction wastes. Automation in Construction, 1(5), 521–533.
[2] Pollution Control Department. (2010). องค์ประกอบและปริมาณขยะมูลฝอยพื้นที่กรุงเทพมหานคร [Types and quantity of wastes in Bangkok]. Retrieved August, 11, 2010.
[3] Kokkaew,N. (2002). การศึกษาแนวทางในการลดปริมาณของเสียจากการก่อสร้างในประเทศไทย [Astudyofaguideline for minimizing construction waste in Thailand]. Master of Engineering Thesis, Faculty of Engineering, Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand.
[4] Ferguson, J., Kermode, N., Nash, C.L., Sketch, W.A.J. and Huxford, R.P. (1995). Managing and Minimizing Construction Waste – A Practical Guide. Institution of Civil Engineers, London.
[5] WRFP (Waste Reduction Framework Plan) (1998). Waste reduction framework plan 1998-2008. Environmental Protection Department, Hong Kong Government.
[6] EPD (Environmental Protection Department) (2001). Environmental Hong Kong 2001. Hong Kong Government.
[7] Vivian W. Y. Tam1, L. Y. Shen, Ivan W. H. Fung and J. Y. Wang (2007). Controlling Construction Waste by Implementing Governmental Ordinances in Hong Kong, Construction Innovation, Griffith University, Queensland, Australia.
เผยแพร่แล้ว
2020-07-08

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้