ศึกษาสถานะของการประยุกต์ใช้แผนบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจเพื่อลดปัจจัยความเสี่ยงสำหรับการบริหารโครงการก่อสร้างในสถานการณ์การเกิดอุทกภัย

ผู้แต่ง

  • ชลลดา เลาะฟอ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
  • ยุทธศักดิ์ อนันตเดชศักดิ์

คำสำคัญ:

แผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ, ภาวะวิกฤต, อุทกภัย, การบริหารโครงการก่อสร้าง

บทคัดย่อ

อุทกภัยเป็นหนึ่งในสถานการณ์ภาวะวิกฤตจากภัยธรรมชาติ ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการบริหารโครงการก่อสร้าง ยากต่อการบริหารจัดการโครงการก่อสร้างให้อยู่ภายใต้งบประมาณและระยะเวลาตามแผนการดำเนินงาน ภาคอุตสาหกรรมก่อสร้างในอนาคตจำเป็นต้องมีการจัดทำแนวทางการเตรียมความพร้อมและสร้างแผนสำรองสำหรับการบริหารโครงการที่มีประสิทธิภาพเพื่อช่วยให้การบริหารโครงการมีความต่อเนื่องและสูญเสียน้อยที่สุดเมื่อประสบสภาวะวิกฤต วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ผู้วิจัยมุ่งเน้น ศึกษาสถานะของการนำแผนบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจมาประยุกต์ใช้บริหารโครงการก่อสร้างและปัจจัยความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อการบริหารโครงการก่อสร้างในสถานการณ์การเกิดอุทกภัย ซึ่งเป็นพื้นฐานข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับนำไปพัฒนาแผนการเตรียมความพร้อมและแนวทางปฏิบัติการบริหารโครงการก่อสร้างเพื่อรับมือต่อสถานการณ์การเกิดอุทกภัยที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต วิธีการศึกษาพัฒนาแบบสอบถามเพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำรวจกลุ่มตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 250 คน ประกอบด้วยวิศวกรโยธาตำแหน่งบริหารและปฏิบัติการ สรุปผลได้ว่าความตระหนักการตรียมแผนอยู่ในระดับกลาง ขาดความรู้ความเข้าใจ โครงการส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้หลักการแผนบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจในการบริหารจัดการโครงการ บริษัทแต่ละขนาดมีอันดับประเด็นของปัญหาและอุปสรรคที่แตกต่างกัน ทุกปัจจัยความเสี่ยงอยู่ในระดับความเสี่ยงสูงจำเป็นต้องมีมาตรการควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

[1] สำนักวิชาการ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. ประมาณการความเสียหาย ของภาคอุตสาหกรรม จากภัยพิบัติน้ำท่วม. [Online]. 2554. แหล่งที่มา http://www.fti.or.th/ [4 กุมภาพันธ์ 2557]
[2] บ้านเมืองออนไลน์. น้ำท่วมซัดเศรษฐกิจพัง 1.4 ล้านล้าน. [Online]. 2555. แหล่งที่มา http://www.banmuang.co.th [4 กุมภาพันธ์ 2557]
[3] บ้านเมืองออนไลน์. น้ำท่วมดันเงินเฟ้อพุ่ง 4.19%. [Online]. 2554. แหล่งที่มาhttp://www.banmuang.co.th/ [4 กุมภาพันธ์ 2557]
[4] กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. ผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมที่มีต่อเศรษฐกิจการเกษตร สถานการณ์ ณ วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2554 [Online]. 2554. แหล่งที่มา http://www.oae.go.th/ [4 กุมภาพันธ์ 2557]
[5] สำนักข่าวไทย. อุทกภัยสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจแล้วกว่า 4 แสนล้านบาท [Online]. 2554.แหล่งที่มา http://www.mcot.net/ [4 กุมภาพันธ์ 2557]
[6] ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. ภาวะน้ำท่วมกรุงเทพฯ กระทบท่องเที่ยว : คาดสูญรายได้จากต่างชาติ 1.5-2.5 หมื่นล้านบาท. กระแสทรรศน์ฉบับที่ 2269 [4 กุมภาพันธ์ 2557]
[7] นายสาธิต วงศ์อนันต์นนท์. มหาอุทกภัยไทย 2554 กับผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ปีที่ 2 ฉบับวันที่ 1 พฤศจิกายน 2554. [Online]. 2554. แหล่งที่มา http://library.senate.go.th/ [4 กุมภาพันธ์ 2557]
[8] ดร.โสภณ พรโชคชัย. น้ำท่วมกับอสังหาริมทรัพย์ไทย. [Online]. 2554. แหล่งที่มา http://www.thaiappraisal.org/ [17 กุมภาพันธ์ 2557]
[9] จุมพล ประวิทย์ธนา. สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยปี 2555 และแนวโน้มปี 2556. [Online]. 2555. แหล่งที่มาhttp://www.google.co.th/ [17 กุมภาพันธ์ 2557]
[10] นายสิทธิพร สุวรรณสุต. เก็บมาเล่า. [Online]. 2554. แหล่งที่มาhttp://www.pd.co.th/ [17 กุมภาพันธ์ 2557]
[11] นายช่างสยาม. ปัญหาน้ำท่วมกับงานก่อสร้าง. [Online]. 2554. แหล่งที่มา http://www.silaplus4cons.com/ [17 กุมภาพันธ์ 2557]
[12] นายปราโมทย์ ไม้กลัด. สาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำท่วม. [Online]. 2555. แหล่งที่มา http://guru.sanook.com/ [4 กุมภาพันธ์ 2557]
[13] ดร.ธนิต โสรัตน์. อุตสาหกรรมไทยภายใต้ความเสี่ยงภัยพิบัติ. [Online] 2555. แหล่งที่มา http://www.tanitsorat.com/ [4 กุมภาพันธ์ 2557]
[14] Business Continuity Institute (2002), Development Tools for Best Practices in BCM: BS25999 and Other Standards, Business Continuity Institute, Caversham, available at: www.thebci.org/standards.htm (accessed February 4, 2014)
[15] สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. คู่มือบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต. [Online]. 2556. แหล่งที่มาhttp://www.palad.mof.go.th/ [4 กุมภาพันธ์ 2557]
[16] Low, S.P., Lui, J.Y. and Mohan, K. (2012). Institutional compliance framework and Business Continuity Management in Mainland China, Hong-Kong SAR and Singapore. Disaster Prevention and Management, 19, pp. 514-596.
[17] Kajsa, S. (2006). Risk management in small construction projects. Thesis, Division of Architecture and Infrastructure, Department of Civil and Environmental Engineering, Lulea University of Technology, Sweden.
[18] ผศ.ณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์ (2551). ระเบียบการวิจัย. บริษัท เอ็กซเปอร์เน็ท จำกัด, กรุงเทพฯ.
[19] นายพุฒิพงศ์ สุดหล้า (2554). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการบริหารงานของกรมทางหลวงในสภาวะเกิดอุทกภัย กรณีศึกษา แขวงการทางปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตการบริหารงานก่อสร้างและสาธารณูปโภค สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, กรุงเทพฯ.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-07-08

วิธีการอ้างอิง

[1]
เลาะฟอ ช. และ อนันตเดชศักดิ์ ย. 2020. ศึกษาสถานะของการประยุกต์ใช้แผนบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจเพื่อลดปัจจัยความเสี่ยงสำหรับการบริหารโครงการก่อสร้างในสถานการณ์การเกิดอุทกภัย. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), CEM25.